กฎหมายและนโยบายเศรษฐศาสตร์การเมืองของพืชจีเอ็มโอศึกษาเปรียบเทียบ ประเทศ ไทยและประเทศญี่ปุ่น

Chiangmai Legal Business > บทความ > Uncategorized > กฎหมายและนโยบายเศรษฐศาสตร์การเมืองของพืชจีเอ็มโอศึกษาเปรียบเทียบ ประเทศ ไทยและประเทศญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ดาเนินการในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเพื่อประเมินสถานะปัจจุบันของกฎหมายและนโยบายเศรษฐศาสตร์การเมืองของพืชจีเอ็มโอ ข้อมูลวิจัยทั้งหมดจะใช้ในการกาหนดบทบาทของหน่วยงานรัฐบาลในโดยมีตัวชี้วัดทั้งหมด 5 ด้านคือสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ความปลอดภัยทางชีวภาพ การค้า ความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกของผู้บริโภคและการลงทุนวิจัยและพัฒนา ทั้งนี้โดยใช้โมเดลของพาสเบริก์มาปรับใช้ในงานวิจัยนี้

ผลการวิจัยพบว่าในด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนไปทางเจ้าของเมล็ดพันธ์ โดยประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายสนับสนุนที่เหมือนประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศมีนโยบายเห็นสมควรและนโยบายระมัดระวังในด้านความปลอดภัยอาหารและด้านการค้า แม้ว่าในด้านความปลอดภัยทางชีวภาพพบว่าประเทศไทยมีนโยบายระมัดระวังมากกว่านโยบายเห็นสมควรของประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทยมีนโยบายเกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอที่แตกต่างจากประเทศญี่ปุ่นเช่นด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ด้านความปลอดภัยอาหาร และด้านการลงทุนวิจัยและพัฒนา โดยสรุปทั้ง 5 ด้านพบว่าประเทศไทยอยู่ในประเภทนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) คือไม่เป็นกลุ่มพวกสนับสนุน หรือป้องกัน ทั้งนี้ไทยยังสงวนท่าทีเรื่องกฎหมายและนโยบายของ GMOs โดยพิจารณาถึงความปลอดภัยและความเสี่ยงในการใช้ GMOs ควบคู่กันไปด้วย ส่วนประเทศญี่ปุ่นอยู่ในกลุ่มนโยบายสนับสนุน (Promotion) และเห็นสมควร (Permissive)
คาสาคัญ : กฎหมาย นโยบายเศรษฐศาสตร์การเมือง ไทย ญี่ปุ่น

1.บทนา

สิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม หรือสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) หรือในบางกรณีใช้คาว่า “พืชเทคโนชีวภาพ” หมายความว่าเป็น สิ่งมีชีวิตที่ถูกปรับแต่งสภาพทางพันธุกรรมโดยใช้เทคนิคตัดต่อยีน หรือพันธุวิศวกรรม คาว่า “จีเอ็มโอ (GMOs)” เป็นคาย่อมาจากคาว่า genetically modified เทคโนโลยี GMOs คือ เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับยืน (gene) หรือหน่วยพันธุกรรมและดีเอ็นเอ (DNA) บางครั้งเรียกว่า สารพันธุกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือสร้างพันธุ์ของพืชสัตว์หรือจุลินทรีย์โดยเทคนิคการตัดต่อยีนเป็นหลัก ผลที่ได้คือสิ่งมีชีวิตที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมหรือต่างจากพันธุ์เดิมหรือ GMOs นั่นเอง เช่น มะเขือเทศ ที่เก็บรักษาได้นานหลังเก็บเกี่ยว มะละกอที่มีความต้านทานต่อโรคที่เกิดจากไวรัส หรือ ข้าวโพดที่สร้างสารด้านแมลงศัตรูพืชได้ด้วยตัวเอง

จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 7 (ค.ศ.1970) และเข้าสู่การจาหน่ายเชิงพาณิชย์ของสหรัฐในปี พ.ศ.2536 โดยคาดหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาด้านเกษตรกรรมและโภชนาการของโลก แต่กลับกลายเป็นการขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะระหว่างสหรัฐกับยุโรป (EU) โดยอ้างถึงความไม่มั่นใจเรื่องการบริโภคและความปลอดภัยด้านอาหารซึ่งมีผลต่อแนวโน้มการยอมรับของประชาชนผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ GMOs มาก ทั้งหมดนี้มีความเกี่ยวโยงหรือสาคัญนาไปสู่ปัญหาเรื่องนโยบายทางเกษตรและการเมืองระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อม กฎหมายหรือกฎระเบียบระหว่างประเทศ การครอบครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ความมั่นคงของชาติเรื่องอาหารตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยและการค้าต่างๆ

2.ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา

จากกระแสคิดด้านพัฒนาอาหาร GMOs ทั้งจากความกังวลของผู้บริโภคและคราวจาเป็นในการแข่งขันทางการค้าถึงขีดสุด สหภาพยุโรป EU (European Union) ได้ออกกฎหมายจากัดการนาเข้าสินค้า GMOs จากสหรัฐต้องมีการติดฉลากหรือแยกอาหาร GMOs ออกจากอาหารปกติ ทาให้เกิดประเด็นของความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศนี้อย่างมากโดยมีการนาเรื่องขึ้นฟ้องร้ององค์การการค้าโลก WTO (World Trade Organization) แล้วในเวทีการค้าระหว่างประเทศ

สาหรับประเทศไทยพืช GMOs ยังไม่ได้การยอมรับจากผู้บริโภคโดยทั่วไป กอปรกับข้อห่วงกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ทาให้ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืช หรือเพาะเลี้ยงสัตว์ที่เป็นผลจากกระบวนการตัดต่อยีนในเชิงพาณิชย์ แต่มีการอนุญาตให้นาเข้าผลิตผลจากพืชแปลงพันธุ์ มาใช้เป็นวัตถุดิบใน อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และอาหารมนุษย์ รวมทั้งอนุญาตให้นาเข้าอาหารสาเร็จรูปที่ผลิตจากแปลงพันธุ์มาบริโภคภายในประเทศด้วย

การที่กระแสโลกมุ่งสู่การนาสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พืชตัดแต่งพันธุกรรมมาใช้ประโยชน์ในประเทศเกษตรกรรมมากขึ้น ประเทศไทยจึงได้มีการพิจารณาทบทวนกฎหมายและนโยบายในเรื่องสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งในบางครั้งได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม แต่การสรุปผลยังไม่เป็นที่ยอมรับ ดังกรณีล่าสุด ในเรื่องของนโยบายนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติขึ้นมา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการฯ ได้ทาการพิจารณาเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม หรือการใช้สิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม เพื่อให้มีทิศทางที่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะเลือกแนวทางใดในการดาเนินนโยบายให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศ

ดังนี้ การวิเคราะห์นโยบาย กฎหมายและมาตรการต่างๆ จึงมีความสาคัญต่อก้าวต่อไปของประเทศไทยในการจัดการปัญหา GMOs นี้ทั้งนี้โดยเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่เป็นเสมือนตัวแทนของประเทศพัฒนาแล้ว การวิจัยนี้ต้องการจะกล่าวถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของ GMOs โดยเสนอวิธีการวัดนโยบายต่างๆ 5 ประการที่จะทาให้ประเทศไทย เข้าใจตัวเองมากขึ้นและทราบว่าตอนนี้ประเทศไทยกาลังอยู่ในขั้นไหนของขบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ทาให้สามารถวิเคราะห์บทบาทและหน้าที่ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ดีและเตรียมพร้อมจะแก้ปัญหาได้ในอนาคต

3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

โครงการวิจัยนี้1 จึงมุ่งเน้นในการรวบรวมข้อมูลในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมจาพวกพืช ทั้งด้านทรัพย์สินทางปัญญา ผลกระทบต่อระบบนิเวศซึ่งครอบคลุมทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ องค์กรและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม และด้านเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดและมีผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด ทั้งนี้ได้มีการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการเสนอแนะนโยบายที่เหมาะสมด้วยทั้งนี้โดยอาศัยโมเดลของพาร์เบริก (Robert L. Paarberg’s model)2 ทั้งนี้จุดประสงค์ของการวิจัยคือ

  • 3.1 เพื่อเข้าใจการเมือง เศรษฐกิจ และการพลังสังคมของนโยบายควบคุมกฎหมายอันเกี่ยวกับการนาเข้า กาส่งออก การทดสอบ การผลิต และการพานิชยกรรม ของผลิตผลสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม
  • 3.2 เพื่อศึกษาระบบการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนทางเลือกของผู้ทานโยบายและประชาชนในอนาคต
  • 3.3 เพื่อเปรียบเทียบวิวัฒนาการและประสบการณ์ของนโยบายสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย
  • 3.4 เพื่อให้ได้ข้อเสนอในการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายและนโยบายสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรม

4.กรอบแนวความคิดวิจัย

ปัจจุบันนี้กฎหมายและนโยบายของรัฐในการควบคุมหรือดูแล GMOs ในหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศกาลังพัฒนายังไม่ชัดเจนหรือไม่มีกฎหมายหรือนโยบายของรัฐโดยตรงในเรื่องนี้ ดังนั้น คงต้องพิจาณาถึงเรื่องอื่นๆ ในการจะทราบถึงกฎหมายและนโยบายของประเทศนั้นจะเป็นเชิงสนับสนุน (Promotion) หรือ เชิงป้องกัน (Prevention) ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้โมเดลของพาสเบริก์ (Robert L. Paarberg’s model) มาปรับใช้ในงานวิจัยนี้ซึ่งมีตัววัด 4 ตัวที่จะดูได้ว่ากฎหมายและนโยบายหรือท่าทีของประเทศเกี่ยวกับ GMOs ดังต่อไปนี้

ตามโมเดลของพาร์เบริก (Robert L. Paarberg’s Model) การรู้ถึงกฎหมายและนโยบายของประเทศนั้นๆ ในเรื่องสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมว่ามีกฎหมายและนโยบายจะเป็นเชิงสนับสนุน (Promotional) หรือเชิงป้องกัน (Preventative) โดยมีแบบ (Pattern) ทั้งหมด 4 แบบด้วยกัน คือ

  • 4.1 แบบ “สนับสนุน” (Promotional) คือนโยบายการส่งเสริมหรือการเร่งรัด (to accelerate)
  • 4.2 แบบ “ความเห็นสมควร” (Permissive) คือนโยบายเป็นกลาง (to neutral) ต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ นี้แต่พยายามเร่งรัดหรือชะลอ (to slow or to speed)
  • 4.3 แบบ “ระมัดระวัง” (Precautionary) คือนโยบายที่พยายามจะชะลอการเพิ่มขึ้นของ GMOS เนื่องจากปัญหาและเหตุผลต่างๆ แต่ไม่ได้ห้ามเรื่องเทคโนโลยีทั้งหมด
  • 4.4 แบบ“ป้องกัน” (Preventative) คือนโยบายกีดกันหรือจากัด (to block or ban) GMOS ทั้งหมดรวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ

ทั้งนี้ในการวัดนโยบายทั้ง 4 แบบนั้นผู้วิจัยกาหนดประเด็นต่างๆ ในการวิเคราะห์มีตัวชี้วัดทั้งหมด 5 ด้านดังต่อไปนี้

  • (1) ด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights) IPRs
    ประเทศทุกแห่งต้องตัดสินใจว่าจะให้สิทธินี้แก่ผู้ผลิตหรือประดิษฐ์ GMOs หรือไม่ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานี้เช่นกฎหมายสิทธิบัตร หรือสิทธิในเมล็ดพันธุ์พืช ประเทศที่กาลังพัฒนากาลังต้องการเทคโนโลยี GMOs ส่วนใหญ่จะให้สิทธิ IPRS ในบางรูปแบบต่อเอกชนผู้ผลิต GMOs เพื่อแลกเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งหากไม่ให้สิทธิบัตรนี้บริษัทหรือเอกชนนั้นก็จะนาเทคโนโลยีไปใช้ที่อื่น
  • (2) ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio-safety)
    ประเทศที่ต้องการส่งเสริมนโยบาย GMOs ก็จะกาหนดมาตรการการปลอดภัยทางชีวภาพให้ต่ากว่ามาตรฐานซึ่งตรงข้ามกับประเทศที่ต้องการป้องกันสินค้า GMOs
  • (3) ด้านการค้า (Trade)
    ประเทศที่ด้อยการส่งเสริมเทคโนโลยี GMOs ก็จะอนุญาตหรือไม่จากัดให้นาเข้าเมล็ดพืช GMOs เข้าในประเทศได้ หากเป็นประเทศที่ต้องการป้องกันก็จะไม่ให้นาเข้า GMOs หรือดูเป็นกรณีๆ ไป
  • (4) ด้านความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกของผู้บริโภค (Food safety and consumer choices)
    การเพาะปลูกพืช GMOs อาจเป็นการส่งเสริมนโยบายปลอดภัยของอาหารได้ด้วย หากไม่มีอะไรแตกต่างจากการปลูกพืชแบบธรรมดาอื่นๆ ที่ไม่มีการต้องทาการทดลองถึงผลกระทบเสียก่อน ในทางกลับกันการเพาะปลูกพืช GMOs อาจทาให้เป็นการจากัด GMOs ในทางนโยบายที่ส่งเสริมผลิตผลของ GMOs หรืออาจต้องมีการการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างทั้ง 2 อย่างในเชิงพาณิชย์
  • (5) ด้านการลงทุนวิจัยและพัฒนา (Public research investment)
    ประเทศที่กาลังพัฒนาที่สนใจส่งเสริมเทคโนโลยี GMOs อาจทาการลงทุนด้วยเงินทุนเองในการทดลองดังกล่าว หรืออาจให้บริษัทเอกชนทาการทดลองโดยให้เงินลงทุนก็ได้แทนที่จะใช้ระบบวิจัยการเกษตรกรรมของตนเอง โดยทดลองในพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรของประเทศดังกล่าวเลยและผ่านการสั่งการทางกระทรวงทบกรมต่างๆ หรือในบางประเทศอาจไม่ให้มีการทดลองในเรื่องทั้งหมดนี้เลยก็ได้หากไม่มีนโยบายในเรื่องนี้

จากตัวชี้วัด 5 ด้านข้างต้น ผู้วิจัยจะทาการวิเคราะห์กฎหมายและนโยบายของประเทศไทยและญี่ปุ่นที่มีต่อสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมได้ดังนี้ว่ามีนโยบายแนวโน้มไปทางแบบใดตั้งแต่นโยบายแบบสนับสนุน (Promotional) นโยบายแบบเห็นสมควร (Permissive) นโยบายแบบระมัดระวัง (Precautionary) หรือนโยบายแบบป้องกัน (Preventative)

5.การทบทวนวรรณกรรม

รายงานของคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตรในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ, (2558) เรื่อง “การศึกษาข้อมูลที่เป็นจริงบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับพืชเทคโนชีวภาพ และความปลอดภัย” คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเกษตรได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การปฏิรูปการเกษตรด้วยการใช้พืชเทคโนชีวภาพ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกร แต่ยังมีความแตกต่างทางความคิดของผู้มีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้อง จึงได้แต่งตั้งคณะทางานเพื่อศึกษาข้อมูลที่เป็นจริงบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับพืชเทคโนชีวภาพและความปลอดภัย ผลการศึกษาที่ได้จะนามาสังเคราะห์เป็นกรอบความคิดแนวทางปฏิรูปการเกษตรของคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร : กรอบแนวคิดพืชเทคโนชีวภาพ (Biotech Crops)ที่จะนาเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปการเกษตร ได้รับทราบและพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป

งานวิจัยของสุดใจ จงวรกิจวัฒนา.“การศึกษาพืชตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) กับการเกษตรของไทย”(2548). สานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร.สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนในประเทศไทยมีความรู้ในเรื่องพืชเทคโนชีวภาพน้อยมาก โดยเฉพาะผู้บริโภค และ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงข้อดี และข้อเสียของพืชเทคโนชีวภาพอย่างแท้จริงบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกันสาธารณชนทั่วไปได้รับข่าวสารในลักษณะที่บิดเบือนหรือคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ส่งผลให้ภาพรวมของพืชเทคโนชีวภาพเป็นเสมือนสิ่งที่สามารถทาอันตรายให้กับสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ทั้งๆ ที่ประชาชนในประเทศไทยบริโภคผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลที่มาจากพืชเทคโนชีวภาพ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด มานานกว่า ๑๕ ปีแล้ว

งานวิทยานิพนธ์ของชนานันท์ คงธนาฤทธิ์ “การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการยอมรับการบริโภคสิ่งมีชีวิตที่ตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” (2543) วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โดยภาพรวมพบว่าผู้บริโภคไทยมีความหลากหลายในระดับความรู้เกี่ยวกับจีเอ็มโอ และการรับรู้เกี่ยวกับจีเอ็มโอ มีทัศนคติ ความกังวลและการยอมรับอาหารจีเอ็มโอแตกต่างกันเช่นกัน

งานวิจัยของ Krualee, S. and Napasintuwong, O. “Factors determining the acceptance of GM soybean milk among Bangkok consumers.” Contributed paper prepared for presentation at the International Conference on Business and Economic Research. March 15-16, 2010. Sarawak. Malaysia. ได้สารวจผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานครจานวน 340 ราย เพื่อทดสอบว่าปัจจัยใดกาหนดการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารจีเอ็มโอ การศึกษาพบว่าผู้บริโภคกว่าร้อยละ 60 ตอบว่าจะไม่ซื้ออาหารจีเอ็มโอ แต่มีโอกาสจะตัดสินใจซื้ออาหารจีเอ็มโอมากขึ้นหากเขาเชื่อว่าอาหารจีเอ็มโอทาให้สินค้าราคาถูกลงและมีโอกาสจะเลือกซื้ออาหารจีเอ็มโอน้อยลงหากเขาเชื่อว่าอาหารจีเอ็มโออาจก่อให้เกิดภูมิแพ้นอกจากนั้นผู้บริโภคที่มีอายุน้อยกว่าก็มีโอกาสที่จะยอมรับอาหารจีเอ็มโอมากกว่าด้วย การศึกษาทาให้เราเข้าใจการยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้นจากการสอบถามโดยตรง

งานของRobert L. Paarlberg, “The Politics of Precaution: Genetically Modified Crops in Developing Countries”, Maryland, The Johns Hopkins University Press, 2001 ตามโมเดลของพาร์เบริก (Robert L. Paarberg’s Model) การรู้ถึงกฎหมายและนโยบายของประเทศนั้นๆในเรื่องสิ่งมีชีวิตตัดแต่งพันธุกรรมว่ามีกฎหมายและนโยบายจะเป็นเชิงสนับสนุน (Promotional) หรือเชิงป้องกัน (Preventative)

งานวิจัยของ พรทิพย์ ชิณสงคราม “ระบบนิเวศ : จีเอ็มโอ … ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสายใยอาหาร” (2557) อาจารย์ประจาสานักวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจากจีเอ็มโอเป็นปัญหาในเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพรวมถึงมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ประโยชน์จากจีเอ็มโออย่างต่อเนื่องพร้อมกับกระแสการต่อต้านก็ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตาม อาหารหรือผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอนั้นยังไม่เป็นที่ยืนยันว่าอันตรายหรือปลอดภัย 100%

งานวิจัยของ เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ “ความปลอดภัยทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม : การนามาตรการทางกฎหมายมาใช้บังคับในประเทศไทย” (2554) จากผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า กฎหมายที่นามาใช้บังคับในทางปฏิบัติสาหรับความปลอดภัยทางชีวภาพเนื่องจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลพันธุกรรมมีเพียงไม่กี่ฉบับ และกฎหมายเหล่านั้นไม่มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลพันธุกรรมโดยตรง

6.ระเบียบวิธีวิจัย

6.1 แบบการวิจัย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ กาหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แยกวิธีวิจัยเป็น 2 วิธีดังนี้

  • 6.1.1 วิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ได้แก่ หนังสือ ตารา งานวิจัย บทความวิชาการ เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษา ข้อมูลสถิติต่างๆ ตลอดจน บทความและวารสารขององค์กรที่เกี่ยวข้อง
  • 6.1.2 สัมภาษณ์เจาะลึก (In- depth Interview) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ในกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่คัดเลือกมาเช่น นักวิจัย ข้าราชการ และกลุ่มอุตสาหกรรม

6.2 แหล่งข้อมูล

ประกอบไปด้วยนักวิจัย เจ้าหน้าที่รัฐบาล ผู้ประกอบการ ดังนี้

ประเทศไทย

  1. ศ.ดร.สุพัฒน์ อรรถธรรม ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะเกษตร กาแพงแสน จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
  2. ศ.ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์
  3. ศ.ดร. วิชัย โฆสิตรัตน์ ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน
  4. ผศ.ดร. เสริมสิริ จันทร์เปรม ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน
  5. นายถวิล สุวรรณมณี อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวเกษตรแห่งประเทศไทย
  6. นายประเวศ แสงเพชร ที่ปรึกษาสมาคมผู้สื่อข่าวเกษตรแห่งประเทศไทย
  7. กานันสนอง รัตน์ทอง ผู้ทรงคุณวุฒิสภาเกษตรกรแห่งชาติ เกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์
  8. นายนิวัติ ปากวิเศษ เกษตรกรบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

ประเทศญี่ปุ่น

  1. Ms.Ayako YOSHIO and Mr. Suwabe Associate Director, Plant Products Safety Division, Food Safety and Consumer Affairs Bureau, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries, Japan
  2. Mr.Minato OKUMURA and Mr. Umeda HIROSHI, Standards and Evolution Division, Department of Food Safety, Ministry of Health, Labour and Welfare, Japan1-2-2 Kasumigaseki Chiyoda-ku Tokyo, Japan,
  3. Dr.Yoshikazu Tanaka, Ph.D., General Manager, Research Institute, Suntory Global Innovation Center Ltd., 1-1-1 Wakayamadai, Shimamoto, Mishima, Osaka 618-8503, Japan

6.3 เครื่องมือการวิจัย

  • 6.3.1 แบบบันทึกข้อมูลเอกสาร
  • 6.3.2 แนวคาถามจากการสัมภาษณ์เจาะลึก

6.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล

  • 6.4.1 รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆได้แก่ หนังสือ ตารา งานวิจัย บทความวิชาการ เอกสารอื่นที่ เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษา ข้อมูลสถิติต่างๆ ตลอดจนแนวคาวินิจฉัยขององค์กรที่เกี่ยวข้อง
  • 6.4.2 เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่

6.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ข้อมูลการศึกษาเอกสารและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์โดยการจาแนกและสรุปผลแบบอุปนัย ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์และตรวจสอบความถูกต้องแม่นยาของข้อมูลที่ได้ ทั้งประเด็นแนวความคิดและแนวปฏิบัติ โดยทาการแยกแยะและจัดหมวดหมู่

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล นาเสนอโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ จาแนกและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยมีแนวคิดและทฤษฎีอยู่เบื้องหลัง

7.ผลการวิจัย

7.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร

7.1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษากฎหมายและนโยบาย GMOs ของประเทศไทย

นโยบายสนับสนุน
(Promotion)
เห็นสมควร
(Permissive)
ระมัดระวัง
(Precautionary)
ป้องกัน
(Preventive)
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไทย
ความปลอดภัยทางชีวภาพไทย
การค้าไทย
ความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภคไทย
การลงทุนวิจัยพัฒนาไทย
สรุปตารางนโยบายของประเทศไทยทั้งหมดทั้ง 5 ด้าน

จากตารางเรื่องสิทธิในทรัพย์ทางปัญญาพบว่าประเทศไทยอยู่ในประเภทที่ 3 ได้ คือ ได้มีนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) ในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานี้โดยกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่โดยจากัดสิทธิของเกษตรกรผู้ผลิต

เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพพบว่าประเทศไทยอยู่ในประเภทที่3 ได้ คือ ได้มีนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) เพราะจะดูเป็นกรณีๆ ไป ตามเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก

เรื่องการค้าพบว่าประเทศไทยอยู่ในประเภทที่ 3 ได้ คือ ได้มีนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) เพรามีการออกกฎและข้อบังคับนาเข้าเกี่ยวกับ GMOs เป็นพิเศษแยกจาก non- GMOs และมีมาตรการเข้มงวดเช่น ติดฉลาก GMOs

เรื่องความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภคพบว่าประเทศไทยอยู่ในนโยบายประเภทที่ 2 คือ นโยบายความเห็นสมควร (Permissive)คือมีการแยกทั้ง 2 อย่างแต่ใช้มาตรการปลอดภัยเดียวกันต้องติดฉลากในผลิตผล GMOs บางอย่างเท่านั้น

เรื่องการลงทุนวิจัยและพัฒนาจะพบว่าประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ 3 ที่มีนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) เพราะไม่มีการลงทุนมากนักในส่วนรัฐบาลในการวิจัยในประเทศ แต่ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนแทนเหมือนกับการวิจัยในพืชอื่นๆ

จากตารางและการสรุปทั้ง 5 ด้านพบว่าประเทศไทยอยู่ในประเภทนโยบาย ระมัดระวัง (Precautionary) คือไม่เป็นกลุ่มพวกสนับสนุน หรือป้องกันเพราะประเทศไทยอยู่ในประเภทนโยบาย ระมัดระวัง (Precautionary) ทั้งหมด 4 ด้านยกเว้นเรื่องความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภคที่อยู่ในประเภทนโยบายความเห็นสมควร (Permissive) กล่าวคือ ประเทศไทยยังสงวนท่าทีเรื่อง GMOs นี้แม้ว่าสินค้า GMOs มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางพาณิชย์อย่างมากแต่จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยและความเสี่ยงในการใช้ GMOs ควบคู่กันไปด้วย

ถึงแม้ปัจจุบันไทยมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่อง GMOs ตามมติของคณะกรรมการ กนศ. ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2542ไม่ยินยอมให้นาข้าเมล็ดพันธุ์ GMOs เพื่อเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ยกเว้นสาหรับงานศึกษาวิจัยอย่างไรก็ตาม จากภาพรวมเรื่อง ปัญหาของ GMOs ทั้งหมดต่อท่าทีและนโยบายของไทย อาจมองได้ 3 ประการดังนี้

  1. ประเทศไทยยังขาด ความพร้อมทางเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาสและอาจต่อรอง/ รวมทั้งป้องกันตัวเองจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภายนอก
  2. ประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการเจรจาต่อรองเพื่อให้ข้อตกลงเป็นไปตามเงื่อนไขที่ประเทศต้องการ ซึ่งอาจกระทาได้โดยเพิ่มบทบาทของตนเองในเวทีโลก
  3. ประเทศไทยยังขาดความพร้อมในเรื่องกฎหมายและกลไกที่ควบคุมสินค้า GMOs โดยตรง ทั้งนี้เพราะ ขาดนโยบายหลักต่อเรื่องนี้แม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายระมัดระวังกับเรื่อง GMOs นี้ก็ตามโดยพยายามออก มาตรการและข้อบังคับต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งคระกรรมการฯขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยตรงแต่ก็ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ ในมาตรการทางด้านกฎหมายควรจะให้ความสาคัญเรื่องจริยธรรม (Ethical issue) ด้วย

7.1.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษากฎหมายและนโยบายGMOของประเทศญี่ปุ่น

นโยบายสนับสนุน
(Promotion)
เห็นสมควร
(Permissive)
ระมัดระวัง
(Precautionary)
ป้องกัน
(Preventive)
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาญี่ปุ่น
ความปลอดภัยทางชีวภาพญี่ปุ่น
การค้าญี่ปุ่น
ความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภคญี่ปุ่น
การลงทุนวิจัยพัฒนาญี่ปุ่น
สรุปตารางนโยบายของประเทศญี่ปุ่นทั้งหมดทั้ง 5 ด้าน

สรุปผลวิเคราะห์ทั้ง 5 ด้าน

จากตารางเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาพบว่าประเทศญี่ปุ่นจัดอยู่ในประเภทที่ 1 ได้ คือมีนโยบายสนับสนุน (Promotion) ในเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของ GMOs กล่าวคือ ให้ความคุ้มครองเต็มที่รวมถึงคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ด้วย

เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพพบว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่ในประเภทที่ 2 คือ มีนโยบายเห็นสมควร (Permissive) เพราะมีการอนุญาตเป็นกรณีๆ ไปตรวจสอบแปลงสาธิตโดยดูวัตถุประสงค์ของแต่ละผลิตผลเป็นหลักตามตามกฎหมายพิธีสารว่าด้วยคาร์ตาเฮนา (Cartagena Act)

เรื่องการค้าพบว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่ในนโยบายระมัดระวังในประเภทที่ 3 คือ นโยบายระมัดระวัง (Precautionary) กล่าวคือญี่ปุ่นออกกฎและข้อบังคับนาเข้าเกี่ยวกับ GMOs เป็นพิเศษแยกจาก Non – GMOs และมีมาตรการเข้มงวดเช่น ติดฉลาก GMOs

เรื่องความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภคพบว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่ในนโยบายประเภทที่ 2 คือ นโยบายความเห็นสมควร (Permissive)กล่าวคือมีการแยกทั้ง 2 อย่างแต่ใช้มาตรการปลอดภัยเดียวกันต้องติดฉลากในผลิตผล GMOs บางอย่างเท่านั้น

เรื่องการลงทุนวิจัยและพัฒนาพบว่าประเทศญี่ปุ่นจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ 1 ที่มีนโยบายสนับสนุน (Promotion) ในเรื่องการลงทุนเรื่องวิจัยและพัฒนากล่าวคือลงทุนวิจัยและพัฒนาในฐานะผู้สนับสนุนรายใหญ่เพื่อได้มาซึ่งเทคโนโลยี GMOs และสายพันธุ์ใหม่ในประเทศนั้นๆ

จากตารางจะเห็นได้ว่าประเทศญี่ปุ่นอยู่ในกลุ่มนโยบายสนับสนุน (Promotion ) และเห็นสมควร(Permissive)คือเป็นกลุ่มพวกสนับสนุนและเห็นสมควร กล่าวคือ ประเทศญี่ปุ่นมีท่าทีสนับสนุนเรื่อง GMOs เพราะพืช GMOs มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางพาณิชย์อย่างมากแต่จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยและความเสี่ยงในการใช้ GMOs ควบคู่กันไปด้วย เพราะเหตุผลหลักคือความคิดของสาธารณชนชาวญี่ปุ่น (General public) ยังมีความสงสัยในความปลอดภัยของพืช GMOs ว่าจะมีความปลอดภัยแน่นอน100%หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับพืชทั่วไปที่ไม่ใช่ GMOs (Non – GMOs) กล่าวคือภาพรวมทั้งหมดนโยบายของประเทศญี่ปุ่นทั้งรัฐบาลและเอกชนมีแนวโน้มไปทางนโยบายสนับสนุน (Promotion) และเห็นสมควร(Permissive)

7.1.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบกฎหมายและนโยบาย GMOs ประเทศญี่ปุ่นและไทย

นโยบายสนับสนุน
(Promotion)
เห็นสมควร
(Permissive)
ระมัดระวัง
(Precautionary)
ป้องกัน
(Preventive)
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาญี่ปุ่นไทย
ความปลอดภัยทางชีวภาพญี่ปุ่นไทย
การค้าญี่ปุ่น
ไทย
ความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภคญี่ปุ่น
ไทย
การลงทุนวิจัยพัฒนาญี่ปุ่นไทย
ตารางเปรียบเทียบนโยบายGMOของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

จากตารางเปรียบเทียบพบว่านโยบายเรื่องที่เหมือนกันระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่นคือนโยบายเรื่อง การค้ากับนโยบายเรื่องความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภค โดยทั้งสองประเทศมีนโยบายระมัดระวัง (Precautionary)เรื่องการค้า กับมีนโยบายเห็นสมควร (Permissive) เรื่องความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภค ส่วนที่แตกต่างกันคือเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาโดยประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายสนับสนุน (Promotion) ส่วนไทยมีนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) ในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายเห็นสมควร (Permissive) ส่วนไทยมีนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) และเรื่องการลงทุนวิจัยพัฒนา ประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายสนับสนุน (Promotion) ส่วนไทยมีนโยบายระมัดระวัง (Precautionary)

จากการวิจัยโดยศึกษาใน 5 ด้านนั้นจะเห็นได้ว่าประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มภาพรวมนโยบาย GMOs ไปในทางนโยบายสนับสนุน (Promotion)และนโยบายเห็นสมควร (Permissive) สอดคล้องกับประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ว่าประเทศสหรัฐอเมริกา จีน หรือแคนาดา ล้วนมีนโยบายสนับสนุน (Promotion) พืช GMOs ทั้งนั้นเหตุผลหลักคือประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะมีพื้นที่เพาะปลูกเกษตรกรรมน้อย ต้องพึ่งการนาเข้าผลิตผลการเกษตรจากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งประเทศญี่ปุ่นนาเข้าผลผลิต GMOs มากเป็นอันดับ1ของโลก และเพื่อเป็นหลักประกันเรื่องนี้ทาให้ญี่ปุ่นต้องพยายามพึ่งพาตัวเองโดยเพิ่มและแสวงหาพันธ์พืช GMOs ใหม่ๆเพราะมีเทคโนโลยีในด้านนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวพบว่าประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายต่อพืช GMOs ในทางนโยบายสนับสนุน (Promotion)

ส่วนประเทศไทยมีแนวโน้มภาพรวมนโยบายต่อพืช GMOs ไปในทางนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) เพราะพบว่า 4 ใน 5 ด้านเป็นไปในทางนี้ ซึ่งสอดคล้องกับประเทศที่กาลังพัฒนาส่วนใหญ่ที่มีนโยบายนี้สาเหตุหลักประเทศไทยยังสงวนท่าทีเรื่อง GMOs นี้แม้ว่าพืช GMOs มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางพาณิชย์อย่างมากแต่จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยและความเสี่ยงในการใช้ GMOs ควบคู่กันไปด้วยและผลกระทบต่อพืชพันธ์พื้นเมืองตลอดจนการต่อต้านจาก NGO และกลุ่มเกษตรกรพื้นเมืองด้วยโดยเห็นว่าจะทาให้พวกเขาต้องซื้อเมล็ดพันธ์พืชในราคาแพงจากบริษัทต่างชาติที่มีเทคโนโลยีในเรื่องนี้

7.2 ผลการการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview)

7.2.1 ผลการการสัมภาษณ์เจาะลึกของประเทศไทย

ศ.ดร.สุพัฒน์ อรรถธรรม ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ เห็นควรที่จะ สนับสนุนให้เกษตรกรได้มีโอกาสใช้พืชเทคโนชีวภาพเป็นพืชทางเลือกหนึ่งในการเพาะปลูก รวมทั้งให้ยกเลิกเงื่อนไข ที่เป็นข้อจากัดในการทางานวิจัยและพัฒนา สอดคล้องกับข้อสรุปทั้ง5ด้านพบว่าประเทศไทยอยู่ในประเภทนโยบาย ระมัดระวัง (Precautionary) คือไม่เป็นกลุ่มพวกสนับสนุน หรือป้องกัน กล่าวคือ ประเทศไทยยังสงวนท่าทีเรื่อง GMOs นี้แม้ว่าสินค้า GMOs มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางพาณิชย์อย่างมากแต่จะต้องพิจารณาถึงความ ปลอดภัยและความเสี่ยงในการใช้ GMOs ควบคู่กันไปด้วย

ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ศรีวัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ ให้ความคิดเห็นว่า เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือเทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูง ในการพัฒนาพันธุ์พืชที่มี ประสิทธิภาพสูงแม้อยู่ในสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และมีความก้าวหน้าในงานวิจัยและพัฒนามาตามลาดับ เห็นควรที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรได้มีโอกาสใช้พืชเทคโนชีวภาพเป็นพืชทางเลือกหนึ่งในการเพาะปลูก รวมทั้งให้ ยกเลิกเงื่อนไขที่เป็นข้อจากัดในการทางานวิจัยและพัฒนา

รองศาสตราจารย์ ดร. วิชัย โฆสิตรัตน์ ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน กล่าวว่าในขณะที่ทั่วโลกสนใจที่จะพัฒนาพืชเทคโนชีวภาพที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจไม่กี่ชนิด แต่มีพืชอีกหลาย ชนิดที่มีความสาคัญในประเทศไทย ถ้านักวิชาการคนไทยไม่ทา แล้วใครจะทา และชี้ให้เห็นว่า แม้แต่ประเทศเพื่อน บ้านอย่างเช่น อินโดนีเซีย ก็ได้พัฒนาพันธุ์อ้อยทนแล้งจนเป็นผลสาเร็จ และมาเลเซีย ได้พัฒนามะละกอชะลอการ สุกแก่ จนสามารถใกล้วางจาหน่ายในเชิงการค้าได้นอกจากนี้ ในปัจจุบันเกษตรกรไทยยังมีความเสี่ยงในการปลูกพืช มากกว่าเดิม ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งพืชเทคโนชีวภาพจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เสริมสิริ จันทร์เปรม ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กาแพงแสน ให้ข้อคิดว่า ด้วยนโยบายที่ไม่ชัดเจน ทาให้ไม่มีหน่วยงานใดให้การสนับสนุนเงินทุนอย่างต่อเนื่อง หรือให้ ก็เพียงเล็กน้อยซึ่งไม่เพียงพอต่อการทางานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชเทคโนชีวภาพ ซึ่งกว่าจะพัฒนาจนได้พันธุ์พืช ใหม่ๆ แต่ละพันธุ์จะต้องใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนาไม่น้อยกว่า 10 ปี จึงเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการวิจัยและ พัฒนาพันธุ์ พืชเทคโนชีวภาพ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ

นายถวิล สุวรรณมณี อดีตนายกสมาคมผู้สื่อข่าวเกษตรแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นว่า จากการติดตาม ข่าวเรื่องของการใช้ประโยชน์จากพืชเทคโนชีวภาพ ไม่พบว่ามีรายงานใดๆ แสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบทางลบต่อ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับมีการนาเข้าเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองที่เป็นผลผลิตจากพืชเทคโนชีวภาพ เข้าประเทศจานวนมากเพื่อใช้เป็นอาหารคนและอาหารสัตว์ และความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ (Seed Hub) ดังนั้นเรื่องของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรจะต้อง ผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้

นายประเวศ แสงเพชร ที่ปรึกษาสมาคมผู้สื่อข่าวเกษตรแห่งประเทศไทย เสนอว่า เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม ภาครัฐควรกาหนดหรือเลือกพืชที่จะต้องพัฒนาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งกาหนดขอบเขตของพื้นที่ที่จะส่งเสริม ให้ปลูกพืชเทคโนชีวภาพ

กานันสนอง รัตน์ทอง ผู้ทรงคุณวุฒิสภาเกษตรกรแห่งชาติ เกษตรกรจังหวัดนครสวรรค์ ได้แสดงความ คิดเห็นว่า ในงานวิจัยและพัฒนาพืชเทคโนชีวภาพ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากพืชเทคโนชีวภาพของประเทศไทย ยัง ล้าหลังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่มีความก้าวหน้า รัฐบาลควรที่จะผลักดันในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเป็นประโยชน์ โดยตรงต่อเกษตรกร ไม่ว่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิต รักษาสิ่งแวดล้อมและลดการสูญเสียผลผลิตอันเกิดจากการ ทาลายของศัตรูพืช

นายนิวัติ ปากวิเศษ เกษตรกรบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ผู้ประสบปัญหาจากโรคใบด่างจุดวงแหวนใน มะละกอ จนต้องล้มเลิกการปลูก ให้ความคิดเห็นว่า เกษตรกรต้องการมะละกอเทคโนชีวภาพ โดยฝากถึงรัฐบาลว่า ขอให้มองอนาคตขางหน้า ประชากรเพิ่ม พื้นที่ทาการเกษตรลดลง ถ้าไม่เอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มการผลิต เพื่อให้เพียงพอต่อผู้บริโภค อนาคตข้างหน้าก็จะลำบาก

ผลการสัมภาษณ์สอดคล้องทั้งหมดกับข้อสรุปทั้ง5ด้านพบว่าประเทศไทยอยู่ในประเภทนโยบาย ระมัดระวัง (Precautionary) คือไม่เป็นกลุ่มพวกสนับสนุน หรือป้องกัน กล่าวคือ ประเทศไทยยังสงวนท่าทีเรื่องGMOs นี้แม้ว่าสินค้า GMOs มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางพาณิชย์อย่างมากแต่จะต้องพิจารณาถึงความ ปลอดภัยและความเสี่ยงในการใช้ GMOs ควบคู่กันไปด้วย

7.2.2 ผลการการสัมภาษณ์เจาะลึกของประเทศญี่ปุ่น

จากผลการสัมภาษณ์ทั้งหมดจะเห็นได้ว่าเช่น จาก Ms. Ayako YOSHIO และ Mr. Minato OKUMURA จาก MAFF “ความจริงแล้ว ญี่ปุ่นเอง ไม่ใช่ประเทศที่ห้ามการเพาะปลูกพืชจีเอ็มโอ ไม่ว่าจะทั้งในระดับการทดลอง หรือระดับการค้า ดังจะเห็นว่าญี่ปุ่นปลูกพืชจีเอ็มจาหน่ายแล้ว ไม่ใช่พืชไร่ แต่เป็นพืชดอก คือ กุหลาบและคาเนชั่นสี ฟ้า ตั้งแต่ปี 2009 ญี่ปุ่นยังได้ศึกษาและอนุญาตให้มีการเพาะปลุกพืชไร่จีเอ็มได้อีกมากมายหลายชนิด และอยู่ใน ระหว่างการทดสอบภาคสนามอีกหลายชนิดเช่นกัน กระนั้นก็ตาม ถึงจะมีความพร้อมขนาดนี้ แต่ยังไม่มีการปลูกพืช ไร่จีเอ็มเชิงพาณิชย์ในประเทศญี่ปุ่น”และ Dr. Yoshikazu Tanaka General Manager, Research Institute, Suntory Global Innovation Center Ltd., “เนื่องจากกุหลาบสีม่วงอาจมีราคาแพงเล็กน้อย บริษัทจึงตั้งเป้าไปที่ ความต้องการในการซื้อกุหลาบไปเป็นของขวัญอย่างไรก็ตามบริษัทยังไม่ได้ตั้งราคาและชื่อทางการค้าที่ชัดเจนของ กุหลาบสีม่วงแต่อย่างใด นอกจากที่ญี่ปุ่นแล้ว บริษัท ซันโตรี่ ยังทดลองผลิตกุหลาบสีม่วงในออสเตรเลียและสหรัฐฯ เพื่อจาหน่ายอีกด้วยแต่ยังไม่ได้กาหนดระยะเวลาวางขายที่ชัดเจนในปี 2004 บริษัท ซันโตรี่ ได้เปิดเผยแผนการผลิต กุหลาบสีม่วงจากการตัดแต่งพันธุกรรมหลังทีมวิจัยซึ่งส่วนหนึ่งเป็นนักวิจัยจากออสเตรเลียใช้เวลาในการศึกษา โครงการดังกล่าวนานถึง14 ปี”

จากการสัมภาษณ์จะเห็นได้ว่าสอดคล้องประเทศญี่ปุ่นมีนโยบาย GMOs ไปในทางนโยบายสนับสนุน (Promotion) สอดคล้องกับประเทศพัฒนาแล้ว

8.สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

8.1 สรุปผลการวิจัย

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลเอกสารและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทาให้สามารถสรุปผลการวิจัยกฎหมายและนโยบายของพืช GMOs เปรียบเทียบประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ได้ดังต่อไปนี้

จากการสรุปทั้ง 5 ด้านพบว่าประเทศไทยอยู่ในประเภทนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) คือไม่เป็นกลุ่มพวกสนับสนุน หรือป้องกันเพราะประเทศไทยอยู่ในประเภทนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) ทั้งหมด 4 ด้านยกเว้นเรื่องความปลอดภัยของอาหารและทางเลือกผู้บริโภคที่อยู่ในประเภทนโยบายความเห็นสมควร (Permissive) กล่าวคือ ประเทศไทยยังสงวนท่าทีเรื่อง GMOs นี้แม้ว่าสินค้า GMOs มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางพาณิชย์อย่างมากแต่จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยและความเสี่ยงในการใช้ GMOs ควบคู่กันไปด้วย

ส่วนประเทศญี่ปุ่นอยู่ในกลุ่มนโยบายสนับสนุน (Promotion) และเห็นสมควร (Permissive) คือเป็นกลุ่มพวกสนับสนุนและเห็นสมควร กล่าวคือ ประเทศญี่ปุ่นมีท่าทีสนับสนุนเรื่อง GMOs เพราะพืช GMOs มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางพาณิชย์อย่างมากแต่จะต้องพิจารณาถึงความปลอดภัยและความเสี่ยงในการใช้ GMOs ควบคู่กันไปด้วย เพราะเหตุผลหลักคือความคิดของสาธารณชนชาวญี่ปุ่น (General public) ยังมีความสงสัยในความปลอดภัยของพืช GMOs ว่าจะมีความปลอดภัยแน่นอน 100% หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับพืชทั่วไปที่ไม่ใช่ GMOs (Non – GMOs) กล่าวคือภาพรวมทั้งหมดนโยบายของประเทศญี่ปุ่นทั้งรัฐบาลและเอกชนมีแนวโน้มไปทางนโยบายสนับสนุน (Promotion) และเห็นสมควร (Permissive)

กล่าวโดยสรุปคือผลการวิเคราะห์ของคณะผู้วิจัยทั้งข้อมูลเอกสารและข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่าทั้ง 2 ประเทศนี้มีนโยบายต่อ GMOs คือประเทศไทยมีแนวโน้มภาพรวมนโยบายต่อพืชGMOไปในทางนโยบายระมัดระวัง (Precautionary) ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มภาพรวมนโยบาย GMOs ไปในทางนโยบายสนับสนุน (Promotion) และนโยบายเห็นสมควร (Permissive) สอดคล้องกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

และแม้ว่าจะมีความกังวลอยู่สังเกตได้จากนโยบายของทั้งสองประเทศ แต่ควรทราบว่า พืชเทคโนชีวภาพเป็นผลิตผลจากเทคโนโลยีที่ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดอย่างหนึ่งเท่าที่มนุษย์เคยคิดค้นมาในโลกนี้มีแนวปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพสาหรับนักวิจัย (biosafety guidelines) ทุกขั้นตอนทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในการทดลองภาคสนามเพื่อให้การวิจัยและ พัฒนาพืชเทคโนชีวภาพมีความปลอดภัยสูงสุดและเป็นพื้นฐานในการประเมินความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประเมินความเสี่ยงนี้เป็นสิ่งที่จาเป็นที่ต้องกระทาอย่างต่อเนื่องในแต่ละสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้าน และรัดกุมที่สุดอย่างไรก็ดี กรณีพืชจีเอ็มเป็นโอกาสที่ดีในการที่ประชาชนในชาติต่างๆไม่ว่าประเทศพัฒนาแล้วหรือกาลังพัฒนาได้มีความตื่นตัวและเร่งสร้างวุฒิภาวะโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งเป็นเรื่องที่จาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการตัดสินใจใดๆของสังคมควรเป็นไปโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และโดยขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือการให้ความสาคัญกับที่มาของข้อมูลและการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยาของข้อมูลมิใช่เป็นไปโดยความตื่นกลัวหรือการตามกระแส

8.2 ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยขอเสนอข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

  1. ด้านนโยบาย
    1.1 เสนอให้มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาพืชเทคโนชีวภาพ รวมทั้งการผลิตในเชิงการค้า ดังเช่นประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากนโยบายที่ผ่านมาโดยเฉพาะประเทศไทยทาให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่มีความแน่ใจว่ารัฐบาลจะให้การสนับสนุนหรือไม่
    1.2 เสนอให้พิจารณาทบทวนข้อจากัดและอุปสรรคที่ทาให้การวิจัยและพัฒนาพืชเทคโนชีวภาพ รวมทั้ง การใช้ประโยชน์ต้องหยุดชะงัก เช่น ในประเทศไทยนโยบายหรือมติ คณะรัฐมนตรีปี 2550
  2. ด้านกฎหมายและกฎระเบียบ
    ประเทศไทย
    2.1 ปรับปรุงทบทวน และให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบในการอนุญาต โดยให้สามารถนาเข้าเมล็ดพันธุ์ พืชเทคโนชีวภาพ เข้ามาเพื่อศึกษาทดลองและประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ หากพบว่าปลอดภัยควรจะ อนุญาตให้ปลูกเพื่อการค้าได้ พร้อมกับการกาหนดมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบให้ชัดเจน
    2.2 เร่งรัดการออกกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ที่สานักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา อยู่ระหว่างรอนาเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาเพื่อใช้ในการกากับดูแล แต่สุดท้ายรัฐบาลชุดนี้ ระงับไปแล้ว การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาพืชเทคโนชีวภาพ และการประเมินความปลอดภัยของพืชเทคโนชีวภาพ เพื่อให้เป็นทางเลือกใช้ของเกษตรกร
    2.3 ปฏิรูประบบการผลิตพืช ทั้งสองประเทศให้มีการจัดระเบียบการผลิตแบบการอยู่ร่วมกัน (coexistence) นั่นคือ ให้มีการผลิตร่วมกันได้เช่นเดียวกับการปลูกมะละกอเทคโนชีวภาพร่วมกับมะละกอพันธุ์ ดั้งเดิมในรัฐฮาวาย โดยอยู่ร่วมกันได้ทั้งในการผลิตแบบปกติ แบบเกษตรอินทรีย์ และแบบพืชเทคโนชีวภาพ แต่ต้อง มีระบบในการคัดแยกผลผลิตเพื่อการค้าที่มีประสิทธิภาพ
  3. ด้านองค์กร
    ประเทศไทย
    ปัจจุบันยังไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานเฉพาะที่ทาหน้าที่กากับดูแลการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการใช้ ประโยชน์จากพืชเทคโนชีวภาพหน่วยงานที่มีอยู่ไม่สามารถทางานได้เต็มที่ เนื่องจากไม่มีหน้าที่หรือภารกิจโดยตรง โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่น

บรรณานุกรม

  • คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเกษตร. (2558) รายงานของคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตรในคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ. เรื่อง การศึกษาข้อมูลที่เป็นจริงบนพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับพืชเทคโนชีวภาพ และความปลอดภัย รัฐสภา.
  • ชนานันท์ คงธนาฤทธิ์. (2543) การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการยอมรับการบริโภคสิ่งมีชีวิตที่ตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • พรทิพย์ ชิณสงคราม. (2557) ระบบนิเวศ : จีเอ็มโอ … ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสายใยอาหาร อาจารย์ประจาสานักวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
  • เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ. (2554) ความปลอดภัยทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม : การนามาตรการทางกฎหมายมาใช้บังคับในประเทศไทย ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพมหานคร.
  • สุดใจ จงวรกิจวัฒนา. การศึกษาพืชตัดต่อพันธุกรรม (GMOs) กับการเกษตรของไทย. สานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร.สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2548.
  • Krualee, S. and Napasintuwong, O. “Factors determining the acceptance of GM soybean milk among Bangkok consumers.” Contributed paper prepared for presentation at the International Conference on Business and Economic Research. Sarawak. Malaysia, March 15-16, 2010.
  • Robert L. Paarlberg. The Politics of Precaution: Genetically Modified Crops in Developing Countries. Maryland. The Johns Hopkins University Press, 2001.