วิเคราะห์นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาจากต่างประเทศสู่กัญชาเพื่อการแพทย์ในประเทศไทย

Chiangmai Legal Business > บทความ > Uncategorized > วิเคราะห์นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาจากต่างประเทศสู่กัญชาเพื่อการแพทย์ในประเทศไทย

วิเคราะห์นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาจากต่างประเทศสู่กัญชาเพื่อการแพทย์ในประเทศไทย

เขตไท ลังการ์พินธุ์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ เขตแม่คาว ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง เมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50000

เมล์ติดต่อ: khettai@hotmail.com

Khettai Langkarpint

Faculty of Law, Payap University, Super Highway Chiang Mai – Lampang Road, Muang Chiang Mai,

Chiang Mai, 50000, E-mail: khettai@hotmail.com

Received: November 2, 2021; Revised: December 9, 2021; Accepted: January 7, 2022

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาของ ต่างประเทศกับประเทศไทย พบว่า จากการศึกษานโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาใน ต่างประเทศนั้น ได้มีการอนุญาตให้สามารถใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการส่วนตัวหรือเพื่อศึกษา วิจัย ใช้ในทางการแพทย์หรือเพื่อการบำบัดรักษาโรคได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า การครอบครองและ จัดจำหน่ายนั้นจะต้องกระทำตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ส่วนประเทศไทยนั้นควรมีนโยบาย และกฎหมายการใช้กัญชาเพื่อทางการแพทย์เท่านั้นแต่ไม่อนุญาตให้สามารถเสพกัญชาเพื่อ การนันทนาการเพราะยังคงเป็นความผิดตามกฎหมาย และผู้ใช้การใช้กัญชาเสรีเพื่อ การนันทนาการเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของอนุสัญญาต่างประเทศต่างๆ เช่น อนุสัญญาว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 อนึ่งการใช้กัญชาในทางการแพทย์ของประเทศไทยนั้นล่าสุดเมื่อมี การแก้ไขกฎหมายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2562 ฉบับที่ 7 ให้สามารถทดลอง และใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ แต่พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดของกฎหมายฉบับดังกล่าว ข้อเสนอแนะ คือ ควรแก้ไขกฎหมายกัญชาที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนและให้มีรายละเอียด ต่างๆ รัฐควรจัดตั้งหน่วยงานกัญชากลางโดยให้ครอบคลุมทั้งระบบ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข ควรมีระบบการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยทั้งแพทย์ แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย

คำสำคัญ: นโยบายและกฎหมายกัญชา กัญชาทางการแพทย์ ต่างประเทศ ประเทศไทย

Abstract

This article aims to analyze cannabis policies and laws in foreign countries and in Thailand. It found that the laws of other countries such as British, United of America, Japan etc. allow cannabis for both personal recreational purposes and for research purposes. In Thailand, however, cannabis can only be used for medical or therapeutic purposes, under the conditions that possession and distribution must be done as required by law. Thailand’s laws do not permit cannabis use for recereational purposes. Such use remains an offense under Thai law and under provisions of international conventions such as the single convention Narcotic Drugs 1961. In terms of Thailand’s laws, the use of cannabis in medicine was most recently amended under the Narcotics Act (Version 7) B.E. 2561 to allow the trial and use of medical cannabis. However, it was found that the new Thai law was unclear in several details. The suggestion is that the relevant Thailand cannabis laws should be amended to be more detailed. Thailand should establish a central cannabis agency covering the entire system. Therefore, the Ministry of Public Health should have a medical cannabis treatment system to suit the context of Thailand, with regards to both modern and traditional Thai medicine.

Keywords: Cannabis Law and Policy, Cannabis for Medical Use, Foreign Countries, Thailand

1. บทนำ

จากการศึกษานโยบายสนับสนุนให้มีการใช้กัญชาเสรี รวมถึงการอนุญาตให้มี การปลูกกัญชา จำหน่ายและใช้กัญชาเพื่อการบำบัดและผ่อนคลายในต่างประเทศ จะเห็นได้ ว่าในประเทศที่มีการเปิดกว้างเรื่องการใช้กัญชาอย่างสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ อุรุกวัยและ อีกหลายๆ ประเทศ จากการศึกษาวิจัยของ ธนัทเทพ เธียรประสิทธิ์2 พบว่า ในปัจจุบันสถานะ ทางกฎหมายของกัญชาในต่างประเทศนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) กลุ่ม ประเทศที่กัญชามีสถานะถูกกฎหมายและสามารถใช้ในการสันทนาการได้อย่างเสรี (2) กลุ่ม ประเทศที่กัญชามีสถานะผิดกฎหมาย แต่อนุญาตให้ใช้กัญชาได้ภายใต้กรอบกฎหมาย (3) กลุ่ม ประเทศที่กัญชามีสถานะผิดกฎหมาย แต่อนุญาตให้ใช้กัญชาได้เฉพาะในการศึกษาวิจัยหรือ การบำบัดรักษาโรคทางการแพทย์เท่านั้น (4) กลุ่มประเทศที่กัญชาเป็นยาเสพติดผิดกฎหมายที่ ไม่มีการอนุญาตให้ใช้ในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในต่างประเทศนั้นยังต้องใช้เวลาในการเตรียมการอย่างยาวนานใน การศึกษาถึงความเป็นไปได้ ประโยชน์และโทษภัยของกัญชาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และยังต้องการข้อมูลพิสูจน์ยืนยันทางวิชาการเกี่ยวกับประโยชน์ที่แท้จริงของกัญชาอีกมากมาย ที่มีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ นโยบายกัญชาของประเทศไทยเริ่มจากนโยบายกัญชาเสรีใน ฐานะพืชทางการแพทย์ เป็นนโยบายการหาเสียงของพรรคภูมิใจไทย3 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ การผลักดันให้กัญชาเป็นพืชทางการแพทย์ ที่ต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมให้เกิดการปลูกกัญชา ได้อย่างเสรี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตยารักษาโรค หรือเพื่อ การรักษาทางการแพทย์ และอันจะก่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นมหาศาล ก่อให้เกิด กระแสสนับสนุนและความตื่นตัวในการศึกษากัญชาจากประชาชนจำนวนมาก ซึ่งกัญชาเป็นพืช สมุนไพรที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนทั้งแพทย์แผนไทยและ แผนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ก็มีผลกระทบหลายด้านเช่นที่ผ่านมางานวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชา ทางการแพทย์ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการทำการศึกษาระยะสั้นในกลุ่มอาสาสมัครขนาด เล็ก ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเพียงการเฝ้าสังเกตและจดบันทึกอาการความรู้สึกของผู้ป่วยก่อนและ หลังการได้รับยาที่มีส่วนประกอบของสารที่พบในกัญชาเทียบกับยาหลอก และหากได้ตามข่าว กัญชากันอย่างใกล้ชิด จะพบว่า กลุ่มขับเคลื่อนกัญชามักจะยกโมเดลของประเทศพัฒนาแล้วที่มี การปลดล็อคกัญชาทางการแพทย์ และตามมาด้วยกัญชาเสรี โดยอ้างว่าเกิดสรรพคุณมากมาย มหาศาล และจะช่วยด้านเศรษฐกิจของประเทศ แท้ที่จริงแล้วการกล่าวอ้างดังกล่าว มิได้กล่าวถึง ผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด ทั้งต่อตัวผู้ใช้กัญชาและผลิตภัณฑ์จากกัญชาในรูปแบบ ต่างๆ เช่น การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชาจนต้องนำส่งโรงพยาบาลจำนวนมาก การใช้ผิดวัตถุประสงค์ ภาวะติดกัญชา ปฏิกิริยาต่อยาแผนปัจจุบันมากมาย ฯลฯ รวมถึงผล กระทบต่อสังคม ทั้งในแง่อุบัติเหตุจราจร อาชญากรรม ความรุนแรงในครอบครัวและในสังคม ดังนั้น เมื่อมีการพูดถึงนโยบายเกี่ยวกับกัญชาจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น ประเด็น ทางสังคม ศีลธรรม ศาสนาและการแพทย์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเฉพาะจะต้องใช้ กรอบแนวคิดและกระบวนการวิเคราะห์ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยบูรณาการ มิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี และเปรียบเทียบทางเลือกในการตัดสินใจ เพื่อให้การตัดสินใจนั้นมีคุณภาพ รอบคอบ โปร่งใส และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน4 เนื่องจาก วัตถุประสงค์การใช้กัญชาต่างกันชัดเจน การใช้กัญชาเพื่อทางการแพทย์ได้มีการยอมรับว่ายา ที่ผลิตจากสารประกอบในกัญชาช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้จริง ส่วนการเปิดเสรีการใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลายหรือสันทนาการอาจเป็นผลเสียมากกว่า ผลดี เนื่องจากการเสพกัญชาถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเสพสารเสพติดอื่นต่อไป ผู้เสพกัญชาต่อ เนื่องเป็นระยะเวลานานๆ มีแนวโน้มว่าจะลองเสพสารเสพติดอื่นที่แรงขึ้น5

ดังนั้น บทความนี้จึงมุ่งที่จะวิเคราะห์นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวกับกัญชา โดยศึกษา นโยบายและกฎหมายยาเสพติดให้โทษโดยเฉพาะกัญชาเสรีของประเทศไทย ประกอบกับ การศึกษานโยบายและกฎหมายเกี่ยวข้องกับกัญชาของต่างประเทศ เพื่อนำเสนอมาตรการทาง นโยบายและกฎหมายในการปรับปรุงแก้ไขการใช้กัญชาของประเทศไทยต่อไปในอนาคต

2. นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดโดยเฉพาะกัญชา

สำหรับเรื่องมาตรการยาเสพติดโดยเฉพาะกัญชานี้ได้มีการกำหนดนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยกัญชาที่สำคัญ ดังนี้

2.1 นโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดโดยเฉพาะกัญชาที่สำคัญ มีดังนี้

นโยบายของรัฐเรื่องนี้ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ รัฐต้องควบคุมและจำกัด การใช้ยาเสพติดให้โทษโดยเฉพาะกัญชาโดยสามารถใช้เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เท่านั้นไม่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการผ่อนคลายหรือสันทนาการใดๆ ทั้งสิ้น หากประเทศใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม คณะกรรมการควบคุมสารเสพติดระหว่างประเทศ (The International Narcotics Control Board: NCB) จะถูกดำเนินการลงโทษตั้งแต่โทษเบาที่สุดไปถึง หนักที่สุด โดยคณะกรรมการดังกล่าว จะเจรจากับประเทศนั้นให้ปรับปรุงแก้ไข หากไม่ยินยอมก็ จะเสนอกับคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council: ECOSOC) เพื่อพิจารณาความผิดและลงโทษด้วยการแทรกแซง (Sanction) ประเทศนั้น โดยห้าม มิให้ส่งขายกัญชาให้กับประเทศนั้นหรือห้ามนำเข้ากัญชาของประเทศนั้น สำหรับประเทศไทย ในฐานะสมาชิกคณะกรรมาธิการยาเสพติด (Commission on Narcotic Drugs: CND) และยัง มีพันธกรณีที่ตกลงกับประเทศอาเซียนที่จะไม่ดำเนินการใดที่ขัดต่ออนุสัญญา ฯ ซึ่งทุกประเทศ ในอาเซียนได้ยึดถือเรื่องนี้ทั้งสิ้น6

2.2 กฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดโดยเฉพาะกัญชาและมาตรการที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องนี้ได้มีพันธกรณีระหว่างประเทศในเรื่องยาเสพติดโดยเฉพาะกัญชาที่ประเทศไทยและประเทศสมาชิกได้ลงนามรับรองโดยประเทศไทย มี 3 ฉบับ ดังนี้

2.2.1 อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961แก้ไขโดยพิธีสาร ค.ศ. 1972 (Single Convention Narcotic Drugs 1961)7 มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้8 (1) เพื่อรวบรวมหลักเกณฑ์ ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับยาเสพติดที่มีอยู่ในอนุสัญญาต่างๆ มาไว้ในอนุสัญญา ฉบับเดียวกัน (2) เพื่อให้ง่ายต่อการใช้เป็นเครื่องมือและแนวทางในการควบคุมยาเสพติดโดยมี การรวมคณะกรรมการต่างๆ เช่น คณะกรรมการกลางถาวร (The Permanent Central Board: PCB) และคณะที่ปรึกษาด้านยาเสพติด (The Drug Supervisory Body: DSB) เป็นคณะเดียวกัน เพื่อให้เป็นองคกร์ที่มีความเป็นเอกภาพในการปฏิบัติงาน โดยตั้งเป็นคณะกรรมการควบคุม ยาเสพติดระหว่างประเทศ (3) เพื่อกำหนดให้มีการห้ามเสพหรือใช้ยาเสพติด เช่น ฝิ่น ใบ โคคา กัญชา ที่มิใช่เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และคำปรารถในอนุสัญญาฉบับนี้ได้กล่าวว่า “ด้วยความปรารถนาที่จะรวมสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งยอมรับกันโดยทั่วไปให้เป็น อันเดียวกันและใช้แทนที่สนธิสัญญาที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติดให้โทษโดยการจำกัด การใช้ยาเสพติดให้โทษสำหรับทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เท่านั้น”9

ต่อมาอนุสัญญาฉบับดังกล่าวได้มีการแก้ไขโดยพิธีสารแก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นการเน้นให้เพิ่มความพยายามด้านการป้องกันการลักลอบค้า และการใช้ยาเสพติด โดยมีเนื้อหาในการควบคุมและจำกัดการใช้ยาเสพติดให้โทษเพื่อประโยชน์ ในทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์เท่านั้น มีการกำหนดรายชื่อสารที่จะต้องควบคุม มาตรการ บังคับให้สมาชิกออกกฎหมายควบคุมยาเสพติด ให้มีคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่าง ประเทศ และกำหนดให้ประเทศรัฐภาคีรายงานปริมาณการใช้ยาเสพติดต่อคณะกรรมการควบคุม ยาเสพติดระหว่างประเทศ 10 นอกจากนั้นยังต้องการให้มีการใช้มาตรการบำบัดรักษาและฟื้นฟู ผู้ติดยาโดยให้คณะกรรมการดังกล่าวนี้ รับผิดชอบในการควบคุมการผลิต และการใช้ยาเสพติด บางชนิดเช่นกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มีความสมดุล กัน11 โดยไม่ถือว่าเป็นการขัดหรือละเมิดต่ออนุสัญญาฉบับดังกล่าว

2.2.2 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุออกฤทธิต่อจิตประสาท ค.ศ. 1971 (The Convention on Psychotropic Substances, 1971(12) อนุสัญญาฉบับนีมุ่งเน้นการควบคุมและจำกัดการใช้วัตถุทีออก ฤทธิต่อจิตและประสาทสำหรับทางการแพทย์ และทางวิทยาศาสตร์ กำหนดชือสารทีจะต้องควบคุม กำหนดมาตรการบังคับให้มีการออกกฎหมายภายในประเทศ การร่วมมือระหว่างประเทศภาคี ในการควบคุมและจำกัดการใช้วัตถุทีออกฤทธิรวมถึงการมอบให้คณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ระหว่างประเทศเป็นองค์กรในการควบคุมการผลิต การนำเข้ายาเสพติด ฯลฯ เป็นต้น แม้ว่ามี อนุสัญญาดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ปัญหายาเสพติดยังคงขยายตัวไปยังประเทศต่าง ๆ และทวีความ รุนแรงอย่างไม่หยุดยัง อันเนืองมาจากความก้าวหน้าของกระบวนการค้ายาเสพติด ทำงานกัน อย่างเป็นเครือข่ายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะทีความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด ระหว่างประเทศยังไม่มีความชัดเจน จึงทำให้ไม่อาจดำเนินงานในแนวทางเดียวกันได้ โดยเฉพาะ อย่างยิง มาตรการทางกฎหมายทีมีอยู่เดิมในขณะนัน ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอทีจะนำมาใช้เป็นเครืองมือ ปราบปรามยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2.3 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุ ออกฤทธิต่อจิตประสาท ค.ศ. 1988 (The United Nations Convention against illicit Traffic in Narcotic Drugs and Psychotropic Substances, 1988)13 โดยอนุสัญญาฉบับนีได้มีการกำหนด หลักการทีสำคัญดังนีหลักการ คือ กำหนดให้รัฐภาคีจะต้องดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้หลัก การทีสำคัญ ดังนี (1) ความผิดและการลงโทษ (Offences and Sanction) ซึงได้กำหนดฐานความผิด เกียวกับการลักลอบค้ายาเสพติดครอบคลุมกิจกรรมทุกประเภท และจะต้องได้รับการลงโทษอย่าง รุนแรงเหมาะสมกับฐานความผิด (2) การริบทรัพย์ผู้ค้ายาเสพติด (Forfeiture of the Process of illicit Trafficking) เป็นมาตรการซึงกำหนดให้มีการสืบเสาะ ติดตาม อายัด ยึดหรือริบทรัพย์สินทีได้ มาจากการลักลอบค้ายาเสพติด ทังทรัพย์สินทีได้มาจากการกระทำความผิดโดยตรง และทรัพย์สิน ทีมิใช่ได้มาจากการกระทำความผิดแต่มีมูลค่าเทียบเท่า เนืองจากมีการแปลงสภาพทรัพย์สิน ทีได้มาจากการกระทำความผิด รวมถึงการริบอุปกรณ์และเครืองมือทีใช้หรือเจตนาทีจะใช้ใน การผลิต หรือการลักลอบค้ายาเสพติด และวัตถุทีออกฤทธิต่อจิตและประสาทในเรืองของ การริบทรัพย์นี อนุสัญญาได้กำหนดให้มีการร่วมมือกันเพือสามารถริบทรัพย์สินตามคำขอของ ต่างประเทศ หรือคำพิพากษาต่างประเทศด้วย ซึงนับว่าเป็นมาตรการใหม่ ซึงมีลักษณะแตกต่างจาก ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศาล (Judicial assistance) หรือการยอมรับหรือการบังคับ คดีตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศด้วย (3) การให้ความช่วยเหลือซึงกันและกันทางกฎหมาย (Mutual Legal Assistance) ซึงเป็นการให้ความช่วยเหลือทางด้านพยานหลักฐานระหว่างประเทศ เพือให้มีผลในการลงโทษผู้กระทำความผิดได้ สำหรับมาตรการนีอาจทำได้ทังในลักษณะของ ความตกลงทวิภาคี (Bilateral) หรือพหุภาคี (Multilateral)

สรุปนโยบายและกฎหมายในส่วนทีเกียวกับยาเสพติดโดยเฉพาะกัญชากับอนุสัญญาฯ ต่างประเทศทั้งหมด มีดังนี้14 (1) กัญชาอยู่ในอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 แก้ไขโดยพิธีสาร ค.ศ. 1972 (2) กัญชาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ได้แต่ ต้องปกป้องสุขอนามัย และสวัสดิภาพของผู้ใช้ การใช้กัญชาเสรีเพื่อการนันทนาการเป็นการขัดต่อ บทบัญญัติของอนุสัญญาฯ (3) การปลูกกัญชาส่วนบุคคลเพื่อใช้ทางการแพทย์เป็นการกระทำที่ขัดต่อ อนุสัญญาฯ เพราะเสี่ยงต่อการรั่วไหล และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เนื่องจากการควบคุม มาตรฐานทำได้ยากเพราะปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol: THC) อาจจะไม่ได้ระดับที􀃉จะนำไปรักษาโรคได้ (4) สารที่อยู่ในกัญชาที่ถือว่าเป็นยาเสพติด คือ แคนนา บินอยด์ ที่อนุญาตให้ใช้ทางการแพทย์ต้องมีการสั่งจ่ายโดยแพทย์และเภสัชกร (5) รัฐบาลต้อง กำกับและตรวจสอบดูแล การสั่งจ่าย จำหน่ายจ่ายแจก และคนไข้ที่ได้รับยา เพื่อให้มั่นใจว่าแคนนา บินอยด์จะไม่รั่วไหลไปสู่การมิได้นำไปใช้ทางการแพทย์และผู้เสพที่มิได้นำไปใช้ในทาง การแพทย์(6) ตัวยาที่อยู่ในอนุสัญญาฯ ทั้ง 3 ฉบับอยู่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการควบคุมยา เสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งรวมทั้ง กัญชา โดยได้กำหนดวิธีการปฏิบัติอย่างละเอียดตั้งแต่การปลูก การผลิตทั้งในและส่งออกทุกกระบวนการ

3. นโยบายและกฎหมายว่าด้วยกัญชาของต่างประเทศ

3.1 นโยบายว่าด้วยกัญชาของต่างประเทศ ตามนโยบายขององค์การ สหประชาชาติ(United Nation) ให้ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 196115 ทั้งนี้ ได้มี การแบ่งเป็น 2 กลุ่มประเทศใหญ่ๆ ได้แก่ ทางประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา กับทางฝั่งยุโรป ซึ่งมีความแตกต่างกันคือ ประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศแคนาดา เปิดให้ นำกัญชาเป็นส่วนผสมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ใช้ทั้งด้านการแพทย์และนันทนาการด้วย ซึ่งในความ เป็นจริง คำว่า เสรี ก็ยังต้องมีการจัดโซนนิ่ง (Zoning) เพื่อกำหนดพื้นที่ในการเสพเหมือน โรงฝิ่นในอดีต แต่ทางฝั่งยุโรปไม่ได้ให้เสพและใช้เพื่อนันทนาการและจะมีข้อจำกัดการควบคุม ที่เข้มงวดมากกว่า สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เปิดเสรีให้ ใช้กัญชาในทางการแพทย์แต่ไม่ใช่ในทางนันทนาการ ซึ่งในต่างประเทศจัดให้มีองค์กรกลางใน การกำกับดูแลการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนด16

3.2 กฎหมายว่าด้วยกัญชาของต่างประเทศ มีตัวอย่าง 2 กลุ่ม ประเทศใหญ่ๆดังต่อไปนี้

3.2.1 ประเทศแคนาดา มีกระบวนการออกกฎหมายเพื่อรับรองการใช้กัญชา ดังนี้ เดิมกฎหมาย The Narcotics Drugs Act 1923 ได้บัญญัติว่าการถือครองกัญชาถือเป็น ความผิด ต่อมามีการแก้ไขกฎหมายในปีค.ศ. 2001 ให้การใช้กัญชาในทางการแพทย์ไม่เป็น ความผิด และในปัจจุบันการใช้กัญชาอยู่ภายใต้กฎหมาย The Cannabis Act 2018 มาตรา 139 (D) บัญญัติให้รัฐต้องกำหนดกฎระเบียบในการควบคุมกระบวนการปลูก การผลิต การใช้และการจัดจำหน่ายกัญชาทางการแพทย์ การใช้กัญชาทางการแพทย์ ผู้ป่วยที่ได้รับอนุญาตจาก แพทย์สามารถซื้อกัญชาได้จากร้านขายยาทั่วไปที่ได้รับอนุญาต (มีใบอนุญาต) ทั้งแบบขายปลีก และแบบขายของออนไลน์ หรือลงทะเบียนกับทางสาธารณสุขเพื่อที่จะสามารถผลิตกัญชาใช้เอง โดยมีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ และยังสามารถกำหนดให้บุคคลใดผลิตกัญชาทางการแพทย์ให้ แก่ตนเองได้ โดยห้ามจำหน่ายแบบบรรจุภัณฑ์ ห้ามติดฉลากผลิตภัณฑ์กัญชา ห้ามขายกัญชา ผ่านจอแสดงผลต่างๆ ส่วนด้านนันทนาการได้มีกฎหมายใหม่คือ Cannabis Act ที่มีผลบังคับใช้ เมื่อ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา ได้กำหนดให้กัญชามีสถานะถูกกฎหมายและการใช้ กัญชาเพื่อการสันทนาการสามารถกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย โดย Cannabis Act นั้น อนุญาต ให้ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 18 ปี (1) สามารถครอบครองกัญชาแห้งได้เป็นจำนวน 30 กรัม (2) สามารถ แบ่งปันกัญชาจำนวนไม่เกิน 30 กรัม กับผู้อายุเกิน 18 ปีผู้อื่นได้ (3) ซื้อกัญชาหรือผลิตภัณฑ์ กัญชาจากร้านที่ได้รับอนุญาตได้ (4) ปลูกต้นกัญชาที่ได้รับเมล็ดมาจากผู้ได้รับอนุญาตได้ไม่ เกินครัวเรือนละ 4 ต้น ทั้งนี้ ต้องเป็นการปลูกเพื่อการใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น (5) แปรรูปกัญชา เช่น การนำไปผสมอาหารหรือเครื่องดื่ม ตราบเท่าที่ไม่ได้เป็นสกัดกัญชาเข้มข้น อย่างไรก็ดี การครอบครองกัญชาเกินกว่าที่กำหนด การจำหน่ายกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาต การปลูกกัญชา เกินกว่าที่อนุญาต การนำกัญชาออกจากประเทศหรือการให้หรือขายกัญชาแก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี นั้นเป็นความผิด ที่มีอัตราโทษสูงสุดคือการจำคุก 14 ปี17

3.2.2 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายเพื่อรับรองการใช้กัญชาเพื่อบำบัดรักษาโรคได้ รับการอนุญาตเป็นครั้งแรกในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อ ค.ศ. 1996 ในปัจจุบันร้อยละ 50 ของมลรัฐ ทั้งหมด ได้อนุญาตให้สามารถใช้กัญชาเพื่อการบำบัดรักษาโรคได้ ในขณะที่บางมลรัฐอนุญาต ให้ใช้กัญชา เพื่อบำบัดรักษาโรค โดยมีการจำกัดว่าจะต้องเป็นกัญชาที่มีปริมาณสารเตตรา ไฮโดรแดนนาบนอล ต่ำ หรือกัญชาประเภทที่เป็นสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid: CBD) เท่านั้น โดยแต่ละมลรัฐได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดตามกฎหมายภายในว่าสามารถใช้บำบัดรักษาโรคชนิด ใดได้บ้าง และสามารถใช้หรือครอบครองได้ในปริมาณเท่าไรบางมลรัฐ อนุญาตให้ใช้กัญชาใน การบำบัดรักษาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มิได้อนุญาตให้มีการเสพอย่างเสรีแต่อย่างใด18

ส่วนมลรัฐที่อนุญาตให้มีการใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือ มลรัฐที่จำหน่าย ครอบครอง ปลูกและใช้ได้อย่างเสรีตามปริมาณ กำหนด (Legalized) ส่วนประเภทที่สองคือ มลรัฐที่ไม่ได้มีการอนุญาตให้จำหน่าย แต่ใช้เพื่อ สันทนาการส่วนบุคคลนั้นไม่ถือเป็นความผิด ตราบใดที่มีการครอบครองไม่เกินกว่าจำนวนที่กำหนด (Decriminalized) หากมีการครอบครองหรือจำหน่ายกัญชามากเกินกว่าที่กฎหมาย กำหนด หรือผลิต นำเข้า ส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจถูกดำเนินคดีฐานค้ายาเสพติดได้19

3.2.3 ประเทศสหราชอาณาจักร มีกฎหมายกัญชาที่กำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดผิด กฎหมายประเภท B ตาม The Misuse of Drugs Act 1971 และThe Misuse of Drugs (Amendments) (Cannabis and License Fees) (England, Wales and Scotland) Regulations 201820 ซึ่งมี ผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา ได้ทำการเพิ่มเติมให้กัญชาเป็นยาเสพติด ตามท้ายตารางที่ 2 กล่าวคือ ยาเสพติดประเภทที่มีคุณค่าทางการบำบัดรักษา ทำให้ปัจจุบัน สามารถใช้กัญชาเพื่อบำบัดรักษาโรคได้ แต่เนื่องจากกัญชายังถือเป็นยานอกบัญชีหลัก ในการที่แพทย์จะสามารถให้ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคนั้นจะกระทำได้ในเฉพาะกรณีจำเป็นที่ผู้ป่วย ไม่สามารถรับการรักษาจากยาในบัญชีหลักได้เท่านั้น

ส่วนการเสพกัญชาเพื่อการนันทนาการส่วนบุคคลนั้นไม่เป็นความผิด แต่การมีกัญชา ไว้ในครอบครอง มีโทษสูงสุดคือการจำคุก 3 เดือน และ/หรือปรับในศาลแขวง (Magistrate Court) กรณีครอบครองเพื่อเสพหรือใช้เป็นการส่วนตัว หรือโทษสูงสุดคือการจำคุก 5 ปี และ/ หรือการปรับโดยไม่มีขั้นสูงในศาลจังหวัด (Crown Court) กรณีครอบครองเพื่อจำหน่าย21 ในการครอบครองกัญชาเพื่อมีไว้จำหน่ายนั้น มีนิยามของการครอบครองเพื่อจำหน่ายคือ การที่ บุคคลเจตนามีกัญชาไว้ในครอบครอง โดยมีเจตนาพิเศษคือเพื่อจำหน่ายกัญชานั้นๆ อนึ่งนิยาม ของการจำหน่าย มิได้หมายถึงเฉพาะการค้าเพื่อแสวงหากำไรเท่านั้น เพราะกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้การจำหน่าย จ่ายแจกโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายด้วย22 ซึ่งนอกจากการครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วนั้น การจำหน่าย ผลิต นำเข้า ส่งออกหรือขนส่ง กัญชาหรือยาเสพติดประเภทอื่นนั้น ก็ถือเป็นความผิดฐานค้ายาเสพติด ในทางปฏิบัติ หากถูก จับกรณีครอบครองกัญชาเพื่อการเสพนั้น ในครั้งแรกเจ้าหน้าที่ตำรวจอาจตักเตือน หากกระทำ ผิดซ้ำเป็นครั้งที่สอง ผู้เสพจะโดนเจ้าหน้าที่รัฐออกใบสั่ง และจะต้องชำระค่าปรับเป็นจำนวน 90 ปอนด์ เมื่อถูกจับกุมและหากโดนจับกุมเป็นครั้งที่สาม ในครั้งนี้อาจถูกดำเนินคดีได้23 แต่ตาม กฎหมายดังกล่าวได้เปิดช่องให้มีการขออนุญาตปลูกกัญชาได้ โดยต้องทำการขอใบอนุญาตจาก ทางกระทรวงมหาดไทย (Home Office) ซึ่งกัญชาที่อนุญาตให้ปลูกได้นั้นจะต้องเป็นกัญชาที่มีอัตราสารที่ทำให้มึนเมาคือ เดลต้า-9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Delta-9-tetrahydrocannabinol : THC) ต่ำ กล่าวคือ ต่ำกว่าร้อยละ 0.2 ซึ่งในทางปฏิบัติกัญชาหรือกัญชงที่ได้รับอนุญาตให้ปลูก นั้นจะถูกนำไปแปรรูปเป็นส่วนประกอบในวงการอุตสาหกรรมยาเป็นส่วนใหญ่24

สรุปแนวคิดของต่างประเทศเกี่ยวกับกฎหมายยาเสพติดให้โทษโดยเฉพาะกรณีกัญชา นั้นได้มีการผ่อนคลายลงกล่าวคือ หลังจากที่มีการกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษในยุค ก่อน ในปัจจุบันประเทศต่างๆ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายให้กับกัญชา ใหม่ โดยอนุญาตให้สามารถใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการส่วนตัว เพื่อศึกษาวิจัย ใช้ในทาง การแพทย์หรือเพื่อการบำบัดรักษาโรคได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า การครอบครองและจัดจำหน่ายนั้น จะต้องกระทำตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น

4. นโยบายและกฎหมายว่าด้วยกัญชาของประเทศไทย

สำหรับนโยบายและกฎหมายว่าด้วยกัญชาของประเทศไทย มีสาระสำคัญ ดังนี้

4.1 นโยบายว่าด้วยกัญชาของประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง

จากนโยบายกัญชาเสรีเป็นนโยบายรณรงค์หาเสียงของพรรคภูมิใจไทย ในช่วงการเลือก ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ปี 256225 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการผลักดันให้ กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ เนื่องจากพื้นที่ประเทศไทย ถือเป็นแหล่งผลิตกัญชาที่มีคุณภาพดี ที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก และกัญชาที่ปลูกในไทยก็ให้สารที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ดี ที่สุด ดังนั้น รัฐบาลจึงควรส่งเสริมให้เกิดการปลูกกัญชาได้อย่างเสรี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ จำหน่ายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตยารักษาโรค หรือเพื่อการรักษาทางการแพทย์ อันจะก่อให้เกิด รายได้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นมหาศาล และเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่มูลค่าหลายแสนล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ นโยบายกัญชาเสรี หรือ กัญชาเพื่อการแพทย์ของพรรคภูมิใจไทย ได้ดึงดูดความสนใจของ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก ภายหลังการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 สิ้นสุดลง คณะกรรมการ การเลือกตั้งได้ประกาศจำนวน ส.ส. อย่างไม่เป็นทางการ แม้ไม่อาจกล่าวได้ชัดเจนว่า “กัญชา เสรี” เป็นนโยบายที่ส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดกลางอย่างพรรคภูมิใจไทย ประสบความสำเร็จ ในการเลือกตั้งครั้งนี้จนได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นอันดับ 5 ซึ่งได้ไป 51 ที่นั่ง (รองจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 137 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ 116 ที่นั่ง พรรคอนาคตใหม่ 80 ที่ นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ 52 ที่นั่ง) และกลายเป็นพรรคตัวแปรที่มีอำนาจต่อรองในการจัดตั้ง รัฐบาลทำให้นโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์และส่งเสริมการปลูกพืชกัญชา ได้ถูกบรรจุไว้เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และกระทรวงสาธารณสุข ใน ยุคของนายอนุทิน ชาญวีรกูล ความชัดเจนด้านนโยบายเริ่มปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรม มากขึ้น แต่ว่านโยบายกัญชาของรัฐบาลจำกัดอยู่เพียงเพื่อการแพทย์และการรักษาโรคเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการใช้เพื่อความบันเทิงและสันทนาการแต่อย่างใด26

4.2 กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายเกี่ยวกับกัญชาในประเทศไทยนั้นกฎหมายดั้งเดิมของไทยคือ พระราชบัญญัติ กัญชา พ.ศ. 2477 มีการอนุญาตและการกำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมกัญชาไว้ คือ มีการให้ใช้อย่างมีเงื่อนไข โดยไม่ได้ปล่อยให้ใช้อย่างเสรี ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติกัญชา พ.ศ. 2477 และพระราชบัญญัติกระท่อม พ.ศ. 2486 ทำให้มีการควบคุมเข้มงวดทั้งกระท่อมและกัญชา จึงเป็นอุปสรรคต่อการนำ พืชกระท่อมและกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์จนได้มีการผลักดันให้เกิดการแก้ไข พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ โดยเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตั้งแต่ 27 ก.ย. 2561 และผ่านกระบวนการต่างๆ จนผ่านการรับรองทั้ง 3 วาระ และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อ 25 ธ.ค. 2561 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ. 2562 เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 มีใจความสำคัญเพื่อเปิดช่องให้นำกัญชามาใช้ประโยชน์ทาง การแพทย์และการศึกษาวิจัย แต่ยังคงไม่อนุญาตให้เสพเพื่อความบันเทิงหรือนันทนาการ27 โดย พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับล่าสุด หรือ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 นั้น ได้อนุญาตให้สามารถใช้ กัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ใช้รักษาผู้ป่วย ใช้รักษาโรคเฉพาะตัว หรือใช้ในการศึกษาวิจัยได้ ต่างจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เดิมที่กำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 ที่ห้ามมิให้มีการเสพหรือนำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยหรือนำไปใช้ประโยชน์ใน ทางการแพทย์ อีกทั้งยังได้กำหนดโทษต่อผู้เสพและผู้ครอบครองกัญชาอีกด้วย

อย่างไรก็ตามกัญชายังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งการปลูก การครอบครอง การจำหน่าย หรือการบริโภค เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ทำให้ขาดข้อมูลการใช้ที่ชัดเจนเพื่อการศึกษา การวิจัยก็ไม่สามารถทำได้ หากมีการศึกษาการนำกัญชามาใช้ในรูปแบบสมุนไพรได้ จะสามารถลดการนำเข้ายาจาก ต่างประเทศได้ ผู้ป่วยสามารถพึ่งพาตนเอง สามารถลดค่าใช้จ่ายทางสุขภาพลงได้ และเป็น การเพิ่มการเข้าถึงยาสมุนไพรของคนไทยอีกทางหนึ่งด้วย28 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มีการออกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการนำ กัญชามาใช้ทางการแพทย์รวมทั้งการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และการศึกษาวิจัย โดยมาตรา 26/2 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งหมายรวมถึงกัญชา เว้นแต่เพื่อ การศึกษาวิจัยและเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และสามารถจำหน่ายและครอบครองได้ตาม มาตรา 26/3 และมาตรา 26/4 โดยมีการกำหนดเงื่อนไขผู้ขออนุญาตให้เป็นไปตามมาตรา 26/5

นอกจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 แล้วกระทรวง สาธารณสุขยังได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข อีก 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับกัญชา ได้แก่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 26 ก.พ. 2562 เรื่อง การแจ้งการมีไว้ในครอบ ครองกัญชา สำหรับผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 26/5 และบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ป่วยตามมาตรา 22(2) ก่อนพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับให้ไม่ต้องรับโทษ พ.ศ. 2562 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2562 เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญสอดคล้องกับพระราชบัญญัติยาเสพติดให้ โทษ และกำหนดข้อยกเว้นสำหรับสารสกัดจากกัญชาแคนนาบินอยด์ ที่มีความบริสุทธิ์มากกว่า หรือเท่ากับร้อยละ 99 และเตตราไฮโดรแคนนาบินอล ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดย น้ำหนัก รวมถึง เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง

ล่าสุดได้มีการประกาศใช้ กฎกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 (ฉบับที่ 2) ขึ้น โดยสาระสำคัญของประกาศดังกล่าวนั้น คือการปรับปรุงนิยามของกัญชา โดยยกเว้นให้กัญชง สารสกัดแคนนาบินอยด์ เมล็ดกัญชงและ น้ำมันจากเมล็ดกัญชงตามเงื่อนไขที่กำหนด ไม่อยู่ภายใต้นิยามของกัญชาที่จัดว่าเป็นยาเสพติด ให้โทษ 24 กล่าวโดยสรุป คือในปัจจุบันกฎหมายไทยอนุญาตให้การใช้กัญชาในการศึกษาวิจัย และการบำบัดรักษาโรคนั้นสามารถกระทำได้ ซึ่งทั้งนี้ต้องกระทำภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมาย กำหนดเท่านั้น อย่างไรก็ดี การเสพและครอบครองกัญชาเพื่อความสันทนาการส่วนบุคคลนั้น ยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่นเดิม29

โดยสรุปประเทศไทยได้นำกัญชามาใช้ทางการแพทย์แต่ไม่อนุญาตให้สามารถเสพกัญชา เพื่อการสันทนาการเพราะการเสพและครอบครองกัญชาเพื่อความสันทนาการส่วนบุคคลนั้น ยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และการใช้กัญชาเสรีเพื่อ การนันทนาการเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของอนุสัญญาต่างประเทศต่างๆ สำหรับการใช้ ประโยชน์ของกัญชาเพื่อการแพทย์ของประเทศไทยปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้30

1) การใช้สารสกัดกัญชาในทางยาของแพทย์แผนปัจจุบันที่มีการรับรองแล้ว ได้แก่ (1) ลดภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดโดยใช้วิธีรับประทาน (2) บรรเทาอาการปวด ปลายประสาทในผู้ป่วยเบาหวาน และอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis: MS) บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง (3) ลดความถี่ของการเกิดอาการลมชักที่รักษา ยาก โรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา และลดอาการปวดประสาทที่ใช้การรักษาอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล (4) กระตุ้นความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งหรือผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยอื่นๆ ที่น้ำหนักตัวน้อย

2) การใช้ที่อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย หรือต้องศึกษาเพิ่มเติม (1) รักษาโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรควิตกกังวลทั่วไป โรคปลอกประสาทอักเสบ ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง (2) รักษาโรคมะเร็ง โรคลมชักแบบต่างๆ อาการปวดจากสาเหตุต่างๆ

3) ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง 16 ตำรับ แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ (1) กลุ่มที่น่าจะใช้กับคนไข้ทั่วไป คนไข้ปลอกประสาทเสื่อม โรคลมชัก เสริมการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง และเอดส์ เนื่องจากมีสรรพคุณ ใช้แก้โรคลม บำรุงร่างกาย ทั่วไป ช่วยให้นอนหลับ ช่วยเจริญอาหารคลายอาการกล้ามเนื้อยึดเกร็ง ขยับตัวลำบาก แก้อาการ มือ เท้าอ่อนแรง (2) กลุ่มที่น่าจะใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี หรือระยะ ประคับประคองเพราะมีสรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้อักเสบ ท้องอืด ท้องใหญ่แข็ง (3) กลุ่ม ที่น่าจะใช้กับผู้ป่วยเอดส์เพราะมีสรรพคุณใช้แก้อาการหรือรักษาโรคเรื้อน คุดทะราดเป็นฝีใน ปาก-เพดาน-ลำคอ นอนไม่หลับ เพ้อ พูดไม่ชัด

5. วิเคราะห์กฎหมายกัญชาเพื่อการแพทย์จากต่างประเทศกับประเทศไทย

เมื่อมีการกล่าวถึงกฎหมายกัญชาเพื่อการแพทย์ ต้องศึกษากฎหมายกัญชาเพื่อการแพทย์จากต่างประเทศและประเทศไทย ดังต่อไปนี้

5.1 วิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ในต่างประเทศมีกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาเพื่อการแพทย์ของต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น31

1) กฎหมายของประเทศญี่ปุ่น มี The Narcotics and Psychotropic Control Law ค.ศ. 1953 บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมยาเสพติดวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งสารเสพติดภายใต้ กฎหมายนี้ ได้แก่ สารเสพติด ฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน สารวัตถุออกฤทธิ์ วัตถุดิบที่มีสารเสพติด และ พืชเสพติด จุดประสงค์หลักของกฎหมายยาเสพติดในญี่ปุ่น คือ การควบคุมการนำเข้า ส่งออก การผลิต ยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท32 และถือว่ากัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ห้ามใช้กัญชาในประเทศญี่ปุ่น

2) กฎหมายของประเทศสหราชอาณาจักร มีThe Misuse of Drugs Act 1971: MDA ว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด เป็นกฎหมายควบคุมสารเสพติด มีบทบัญญัติควบคุมการใช้ยาตาม บัญชีรายชื่อ รวมถึงยาที่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคด้วย ห้ามนำเข้า และส่งออกยาควบคุมโดย ไม่ได้รับอนุญาต ห้ามการผลิตหรือการจัดส่งที่ขัดต่อกฎหมายการค้ายาเสพติดเป็นความผิด กัญชา เป็นยาเสพติดในบัญชี ข ซึ่งยังคงห้ามมิให้ใช้ด้านนันทนาการ ห้ามการปลูก การผลิต การมีไว้ใน ครอบครอง หรือจัดส่งกัญชาไปให้ผู้อื่น ผู้ใดยอมให้ใช้สถานที่เพื่อการปลูก การปรุง การจัดส่งหรือ สูบ มีความผิด เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจใช้ดุลยพินิจตักเตือนผู้เสพ การปลูกกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ใน การพัฒนายาที่ใช้กัญชาเป็นฐานการวิจัยทางคลินิกขออนุญาตทำได้แต่การใช้กัญชาเป็นยารักษา โรค กฎหมายยังไม่อนุญาตใช้ด้านนันทนาการ 33

3) กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา มี The Controlled Substances Act: CSA เป็น กฎหมายควบคุมยาเสพติดของรัฐบาลกลาง ภายใต้การควบคุมการผลิต นำเข้า ครอบครอง การใช้และการกระจายตัวของสารบางชนิด แต่ในสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะยึดนโยบายปราบปรามยา เสพติดโดยบังคับใช้กฎหมายที่รุนแรง แต่มีหลายรัฐไม่ยึดหลักกฎหมายของรัฐบาลกลางโดยยอมรับ ว่า กัญชาคือสิ่งที่ใช้เพื่อความบันเทิง จึงไม่มีการพิพากษาลงโทษจำคุกกับผู้เสพกัญชาแต่ประการ ใด บางรัฐ กฎหมายอนุญาตให้มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยเพื่อการรักษาทางการแพทย์ ถึงแม้จะมีข้อห้ามของรัฐบาลกลางก็ตาม มีการอนุญาตให้ทำการรักษาด้วยกัญชา แต่ไม่ได้ให้ ความคุ้มครองจากการถูกจับกุมใดๆ และยอมรับว่า กัญชา คือสิ่งที่ใช้เพื่อความบันเทิง34

สรุปกฎหมายว่าด้วยการใช้กัญชาในต่างประเทศแสดงให้เห็นว่าการเปิดเสรีกัญชามี ได้หลายระดับตั้งแต่ การเปิดให้มีการวิจัยและพัฒนายาที่เป็นสารสกัดของกัญชา การใช้กัญชา โดยตรง (เช่นใช้ดอก หรือใบ) เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์จนถึงการใช้เพื่อการผ่อนคลาย เช่น การนันทนาการในประเด็นนี้รวมไปถึงกระบวนการลดทอนอาชญากรรมหรือลดความผิดอาญา (Decriminalization)

5.2 วิเคราะห์ปัญหากฎหมายการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ของประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยอนุญาตให้สามารถใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ได้เท่านั้นไม่รวมถึง การใช้เพื่อนันทนาการส่วนบุคคล โดยรัฐได้ออกกฎหมายคือ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงต่างๆอนุญาตให้สามารถใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อ การแพทย์ได้พบว่ากฎหมายดังกล่าวยังมีข้อจำกัดและไม่ชัดเจนในรายละเอียดอันเป็นอุปสรรค ต่อผู้ใช้ประโยชน์หรือประชาชนจากการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ดังต่อไปนี้

5.2.1 ไม่มีการกำหนดประเภทของใบอนุญาต และไม่มีหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก พืชกัญชาเพราะการใช้ประโยชน์พืชกัญชาแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันแต่ ไม่มีหลักเกณฑ์หรือรายละเอียด ขั้นตอน แต่อย่างใด ซึ่งการขอรับใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก พืชกัญชา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ผลิต นำเข้า ส่งออก พืชกัญชา มาตรา 22/2 กำหนดให้การผลิต นำเข้า ส่งออก พืชกัญชา และมาตรา 22/1 กรณีที่ นำพืชกัญชาติดตัวเข้ามาใน หรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว และตาม มาตรา 26/3 จะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุม ยาเสพติดให้โทษ และตามมาตรา 22 ได้กำหนดการนำเข้า ส่งออก พืชกัญชาตามมาตรา 26/2 (1) หรือ (2) จะต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้ง35

5.2.2 ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการขอรับใบอนุญาต จำหน่าย หรือครอบครองพืช กัญชาแต่อย่างใด ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 26/3 ได้ อนุญาตให้สามารถจำหน่ายหรือครอบครองได้จะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็น ชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ แต่ตามมาตรานี้ไม่มีรายละเอียดแต่ประการใด เพียงแต่ระบุว่าการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง36 ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดให้ว่าผู้ที่ต้องการขอรับใบอนุญาต จำหน่ายหรือครอบครองพืชกัญชาต้องยื่นเอกสารแบบ ย.ส.4/5-1 เท่านั้น รวมถึงคุณสมบัติของผู้ที่ มีสิทธิจะขอรับใบอนุญาตจำหน่ายตามมาตรา 26/5 ไม่ได้กำหนดถึงคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิขอรับ ใบอนุญาตเพียงแต่กำหนดบุคคลที่สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตเท่านั้น37

5.2.3 ไม่มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอนรายละเอียด หรือ การอุทธรณ์ กรณีการอนุญาต ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ ในครอบครอง ตามมาตรา 23/3 ที่บัญญัติว่าการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กำหนดในกฎกระทรวง เท่านั้น และกฎกระทรวงไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพียงแต่กำหนดให้ผู้มีอำนาจ ในการพิจารณาอนุญาตคือรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เท่านั้น เป็นการใช้ดุลยพินิจแต่ละราย ๆ ไป ย่อมเกิดข้อสงสัยในการพิจารณาของว่ารัฐใช้กฎเกณฑ์ ใดในการพิจารณาว่าอนุญาต หรือไม่อนุญาต

5.2.4 ปัญหาขั้น ตอนของการที่แพทย์สั่งกัญชาให้แก่ผู้ป่วยเพื่อเป็นยารักษาโรคเฉพาะตัว ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 26/4

กรณีผู้ป่วยใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการ แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็น ผู้ให้การรักษา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ (1) กรณีแพทย์แผนปัจจุบันสั่งยากัญชาให้แก่ ผู้ป่วย และ (2) กรณีแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน สั่งยากัญชาให้แก่ผู้ป่วย

ประเด็นที่ 1 กรณีแพทย์แผนปัจจุบันไม่มีกฎหมายกำหนดให้แพทย์แผนปัจจุบันที่สั่ง กัญชาให้ผู้ป่วยจะต้องมีใบอนุญาตและไม่ได้มีกำหนดคุณสมบัติของแพทย์กรณีผู้ป่วยใช้รักษา โรคเฉพาะตัว เพราะตามมาตรา 26/4(1) กฎหมายอนุญาตเพียงแต่ให้แพทย์แผนปัจจุบันสามารถ ออกหนังสือรับรองหรือใบสั่งยาเท่านั้น 38 ถึงแม้จะมีกฎหมายกำหนดให้แพทย์แผนปัจจุบันที่สั่ง กัญชาที่ยารักษาโรคให้แก่ผู้ป่วย แต่แพทย์แผนปัจจุบันก็ไม่ยอมจะสั่งยาเพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ค่อยมีงานวิจัยเกี่ยวกับการนำพืชกัญชามาใช้รักษาโรคเฉพาะตัว สำหรับแพทย์แผนปัจจุบัน

นอกจากนั้น คือไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้กัญชามาเป็นยารักษาโรคเฉพาะตัว กล่าว คือ โรคเฉพาะตัวที่แพทย์สามารถออกใบสั่งให้นั้น ไม่ได้กำหนดถึงโรคประเภทใด หรือปริมาณที่ เหมาะสมที่สามารถใช้ได้ทั้ง แพทย์และผู้ป่วย ตามมาตรา 26/4 ทำให้เกิดปัญหาว่าการรักษาโรค แต่ละโรคย่อมมีอาการแตกต่างกัน จึงส่งผลให้การรักษาโดยการใช้กัญชาเป็นยารักษาโรคเฉพาะตัวแตกต่างกันไปด้วย และต้องพึงระวังว่ากัญชานั้นหากใช้เกินขนาดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ของผู้ป่วย

ประเด็นที่ 2 กรณีแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอ พื้นบ้าน ตามกฎหมายอนุญาตให้สามารถสั่งยาให้แก่ผู้ป่วย หรือปรุงยาที่มีส่วนผสมกัญชาได้ตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือสั่งจ่ายตำรับยาที่มีกัญชา ปรุงผสมอยู่ พ.ศ. 2562 ข้อ 1 ข้อ 2 และ ข้อ 3 โดยมีสาระสำคัญ ที่กำหนดแค่การแพทย์แผนไทย และหมอพื้นบ้านต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผน ไทย และต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้ตำรับยา ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่จากกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขหรือสภาวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ให้การรับรอง เท่านั้น ไม่มีการกำหนดให้มีการควบคุม ดูแล ของหน่วยงานของรัฐทำให้ ไม่มีการควบคุมดูแลโดยเคร่งครัด ในการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน โดยเฉพาะรายละเอียด ส่วนผสม ปริมาณ ใด นานเท่าไหร่ โดยขึ้นอยู่กับผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และหมอพื้นบ้าน เท่านัน

กล่าวโดยสรุปประโยชน์ของการนำผลการศึกษาเรื่องนี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนด นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกัญชาเพื่อการแพทย์ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในอนาคตต่อไป ในวงการทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และหมอพื้นบ้าน ตัวอย่างเช่น การกำหนดประเภท และปริมาณของรายละเอียดของโรคเฉพาะตัวในการใช้กัญชาของแพทย์ปัจจุบันที่สามารถออก ใบสั่ง การกำหนดหน่วยที่ควบคุมดูแลโดยเคร่งครัดในการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์แผนไทยและหมอ พื้นบ้านในการกำหนดรายละเอียด ส่วนผสม ปริมาณยาของแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือ สั่งจ่ายตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ เป็นต้น

6. บทสรุปและข้อเสนอแนะ

6.1 บทสรุป

นโยบายและกฎหมายของต่างประเทศอนุญาตให้สามารถใช้กัญชาเพื่อการสันทนาการ ส่วนตัว หรือเพื่อศึกษาวิจัยใช้ในทางการแพทย์ หรือเพื่อการบำบัดรักษาโรคได้ ประเทศไทย ปัจจุบันมีนโยบายและกฎหมายกัญชาเพื่อการแพทย์เท่านั้น ทั้งนี้จากการศึกษากฎหมาย เกี่ยวกับกัญชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยพบข้อจำกัดอันอาจเป็นอุปสรรค ดังนี้

1) กฎหมายไทยไม่ได้มีการกำหนดโรค หรือกรณีที่ผู้ป่วยจะใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการแพทย์ได้รวมถึงคุณสมบัติของผู้ป่วย

2) กฎหมายไทยไม่มีกำหนดปริมาณทีผู้ป่วยสามารถใช้ประโยชน์จากกัญชาเพื่อการแพทย์

3) กฎหมายไทยไม่มีการกำหนดการขออนุญาต การแบ่งประเภทของใบอนุญาต ขั้นตอน วิธีการขออนุญาตไม่ชัดเจน และไม่มีหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบการอนุญาตและติดตามผล หลังจากที่อนุญาตให้แล้ว

4) ด้วยนโยบายของรัฐในเรื่องกัญชาเพื่อการแพทย์นั้น เริ่มจากนโยบายในการหาเสียง ของพรรคการเมืองที่กลายเป็นนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันน้ี ดังนั้นหากในอนาคตไม่ได้รับ การเลือกตั้งเป็นรัฐบาลอีกอาจเกิดความไม่แน่นอนในการขับเคลื่อนหรือต่อเนื่องของนโยบาย ดังกล่าว

6.2 ข้อเสนอแนะ

1) แก้ไขกฎหมายยาเสพติดให้โทษโดยเฉพาะกรณีกัญชาเฉพาะในพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้นในการกำหนดว่ากัญชาในฐานะ ยาเสพติดเพื่อใช้ในการแพทย์

2) จัดตั้งหน่วยงานกัญชากลางโดยให้ครอบคลุมทั้งระบบ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ ปลูก แปรรูป ขนส่ง จำหน่ายและการใช้ เพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นระบบครบวงจร ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ตลอดจนการควบคุมการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ที่ทันสมัยมีหน่วย งานเจ้าภาพเหมือนนานาอารยประเทศ

3) กระทรวงสาธารณสุขควรมีระบบการรักษาด้วยกัญชาทางการแพทย์ให้เหมาะสมกับ บริบทของประเทศไทย จะส่งผลดีในการพัฒนาการรักษาโรคเฉพาะตัวในการใช้กัญชาของแพทย์ ปัจจุบันและการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านต่อไป

4) ควรกำหนดนโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์เพื่อให้มีความยั่งยืนตลอดไป โดยกำหนด เป็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีไว้ เพราะจะทำให้รัฐบาลชุดต่อไปต้องนำมาใช้เป็น หนึ่งในนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่ต้องนำมาปรับใช้และปฏิบัติติต่อไปให้สอดคล้องและบูรณาการ กัน อันจะก่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าวจนบรรลุความสำเร็จในอนาคต

References

Adthasit Pankeaw. “Free Cannabis.” Accessed September 21, 2021. http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title. [In Thai]

Chardsumon Prutipinyo. Drafting of New Law Codification and Guidelines for Regulating Addictive Substances (Research Report). Bangkok: Thai Health Promotion Foundation, 2016.

Department of Justice Canada. “Cannabis Legalization and Regulation.” Last modified 2018, Accessed October 6, 2021. https://www.justice.gc.ca/eng/cjjp/cannabis/.

GOV UK. “Drugs Penalties.” Last modified 2019, Accessed October 6, 2021. https:// www.gov.uk/penalties-drug-possession-dealing.

Khettai Langkarpint. “Analyzing the New Environmental and Health Impact Assessment Requirement of the Enhancement and Conservation of National Environment Quality Act (Version 2) B.E. 2561.” Naresuan University Law Journal 13, no. 2 (2020): 115-135. [In Thai]

Kobkul Chatawaro. “Legal Measures to Combat the Smuggling of Maritime Drugs under the Naval Empowerment Act to Suppress Certain Offenses by Sea B.E. 2490 (1947) Amendment (No. 4) B.E. 2534 (1991).” Master’ s Thesis, Faculty of Law, Ramkhamheang University, 1991.

Office of the Narcotics Control Board. Justice Department. United Nations Conventions on Drugs Control. Bangkok: Office of the Narcotics Control Board, 2003. [In Thai]

Office of the Narcotics Control Board, Justice Department. References for Making the Proposal of Cannabis Policy to New Government. Bangkok: Office of the Narcotics Control Board, 2019. [In Thai]

Pattanaparkorn Dontumprai, et al. “Free Cannabis as a Medical Plant.” Journal of Roi Kaensarn Academi 6, no. 1: 184-198. [In Thai]

Rapeepong Supantrimat, and Chosita Pavasuthipaisit. Situation Review on Potential Benefits and Risks from Medicalization and Legalization of Cannabis. Bangkok: Health System Research Institute, 2017. [In Thai]

Siwat Nukulkij. “Law Problems of Cannabis Liberalization of Thailand Compare with Japan, United Kingdom and the United States.” Panya Panithan Journal 5, no. 2 (2020): 151-160. [In Thai]

Tanatthep Tianprasit. “Law Regarding Cannabis: The Overseas Experience.” Nitipat NIDA Journal 8, no. 2 (2020): 45-63.

Thiravat Hemachudha et al. “New Way of Law About the Rights to Use Cannabis as a Medical Plant.” Julniti Journal 16, no. 3 (2020): 1-30. [In Thai]

UK Cannabis Social Clubs. “Uk Cannabis Law.” Last modified 2019, Accessed October 6, 2021. https://ukcsc.co.uk/cannabis-law/.

Weeraya Taupachit, and Nusaraporn Kessomboon. “Cannabis Policy: A Comparative
Analysis of Thailand, United States, Canada, German and Israel,” Thai Journal of
Pharmacy Practice 13, no. 1 (2021): 1-16. [In Thai]Weeraya Taupachit, and Nusaraporn Kessomboon. “Cannabis Policy: A Comparative Analysis of Thailand, United States, Canada, German and Israel,” Thai Journal of Pharmacy Practice 13, no. 1 (2021): 1-16. [In Thai]